Android In-App Purchase : การจ่ายตังค์ในแอพของน้องด๋อย

หลังจาก Google อนุญาติให้สาวกชาวไทยซื้อแอพบน Android Market ได้แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะลองผลาญเงินผ่าน Market ให้สมใจอยาก

อันดับแรกที่จำเป็นต้องทำก่อนที่จะซื้อแอพก็คือ การตั้งค่า Google Checkout สำหรับจ่ายตังค์เวลาซื้อแอพทั้งหลาย (ถึงแม้ว่าจะมีข่าวว่ากูเกิลกำลังเจรจากับ Paypal เพื่อให้จ่ายเงินผ่านทาง Paypal ได้ แต่ ณ วันนี้ (23/05/2011) เรายังมี Google Checkout เป็นช่องทางเดียวในการชำระเงิน) ข้อมูลที่ Google Checkout เก็บไว้ก็คงเป็นลักษณะเหมือนๆกับ Amazon 1-click ที่เก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ (แล้วก็ภาวนาให้มันปลอดภัย) เวลาจะซื้อก็แค่เลือกว่าจะจ่ายด้วยบัตรใบไหนก็เป็นอันเสร็จ .

 

คราวนี้เรามาดูการซื้อของที่เรียกว่า In-App Purchase ที่เป็นขั้นกว่าของการซื้อแอพ 😉

In-App Purchase เป็นการจ่ายตังค์ภายในแอพ (แปลตรงตัวไปมั๊ย) เอาไว้ใช้เวลาเราต้องการซื้อ Feature/Function/Item เพิ่มจากเกมส์หรือโปรแกรมที่เราโหลดไปแล้ว (ซึ่งอาจจะโหลดฟรีหรือไม่ก็ได้)

ตัวอย่างเช่น ผมโหลดเกมส์ Cordy มาเล่น ซึ่งเป็นเกมส์ฟรี แต่มีให้เล่นแค่สี่ด่าน พอจบด่านสี่เจ้าเกมส์ก็จะถามว่าจะซื้อด่านเพิ่มมั๊ย ? ซึ่งคิดราคา 1.99$ (ประมาณ 60บาท)  เดี๋ยวจะอธิบายวิธีซื้อต่อไป ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ ผมไม่ต้องโหลดเกมส์ใหม่ คนทำก็ไม่ต้องแยกแอพเป็นเวอร์ชันฟรีกับเสียตังค์ แค่ลองโหลดมาใช้แล้วชอบ ก็จ่ายตังค์เพื่อปลดล็อกฟีเจอร์ได้เลย

อีกตัวอย่างจาก In-App Purchase ก็เช่น ซื้อ Item ในเกมส์, จ่ายตังค์เพื่อปิดโฆษณาในแอพ, จ่ายตังค์เพื่อใช้ Feature พิเศษ, หรืออาจจะรวมไปถึงการ Donate ได้ด้วยซ้ำไป

 

มาต่อกันทีเ่กมส์ Cordy เมื่อเล่นๆไปจบด่านฟรี ก็จะมี Popup ขึ้นมาถามว่าเราจะซื้อมั๊ย

Start In-App purchase process

เราก็ตอบ .. ตกลง ก็จะได้หน้าจอตามด้านล่าง เป็นรายละเีอียดของบัตรที่จะหักเงิน (ที่เราใส่ใน Google Checkout ก่อนหน้านี้

Phuket Trip May 2011 : Phuket Aquarium

เพิ่งกลับมามาจากภูเก็ต 😉

ทริปนี้ไม่ได้ไปมีอะไรมากมาย ไปพักผ่อนสบายๆ แทบไม่ได้หยิบกล้องใหญ่ออกมาถ่ายเลย ใช้ Galaxy S ซะส่วนใหญ่

คราวนี้ได้ลองไป Phuket Aquarium ฆ่าเวลา … ซึ่งการไปแบบไม่ได้คาดหวังอะไรทำให้รู้สึกดีกว่าที่คิด

Phuket Aquarium เป็นอะควาเรี่ยมเล็กๆ เก็บค่าเข้าไม่กี่บาทมาก เดินซัก 20 นาทีก็ทั่วแล้ว

 

ลองถ่ายวิดีโอเล่นๆ มาดูกัน 😉

 

อันนี้เป็นแมงกะพรุนอะไรซักอย่าง น่ารักดี กระดึ๊บๆ อยู่ในตู้

Jelly Fish from ZiiT on Vimeo.

อันนี้เป็นปลานักการเมือง (อันนี้ตั้งเอง) เพราะมันโปรงใสมากกกกก

Phishing : สร้างเว็บหลอกแล้วปอกลอก

พอดีว่าไปอ่านบล็อกของ Pakkardkaw (ขยันปั่นชิบ) เรื่องเว็บ Hotmail ปลอมหลอกถาม Password เลยขอเอามาขยายความหน่อย 🙂

เหตุการณ์อย่างที่กล่าวข้างต้นคือการทำ Phishing ซึ่งเป็นคำที่แสลงมาจาก Fishing อีกที ความหมายก็เป็นเหมือนๆการตกปลา คือปล่อยเหยื่อล่อแล้วให้ปลามากินเหยื่อ ในที่นี้ก็คือสร้างเว็บหลอกให้เราเข้าไปกรอกข้อมูล

ส่วนเหตุการณ์จริงก็จะเป็นประมาณสร้างเว็บหน้าตาเหมือนเว็บชื่อดังทั่วไป (ดูด้วยตาจะเหมือน 100% เลย) ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางเว็บการเงิน เว็บเมล เว็บ Social Network หรือว่าง่ายๆก็คือเว็บที่น่าขโมย Username/Password ไปจนถึงรหัสบัตรเครดิต, บัญชีธนาคารกันเลยทีเีดียว

เมื่อมีเว็บที่หน้าตาเหมือนต้นฉบับแล้ว อันต่อมาก็คือ วิธีทำให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บหน้านั้นๆ ส่วนใหญ่จะมากับ Link แบบต่างๆเช่น

  • ลิงค์ที่มาจากรูปภาพ อันนี้ก็จะดูยากหน่อยว่าจริงๆแล้ว Link นั้นจะพาเราไปไหน
  • ลิงค์ที่ตัวอักษรดูดี แต่ซ่อนปลายาทางไปอีกที่นึง เช่น ตัวอักษรเป็น Facebook.com แต่ตัว Link จริงๆพาไปที่ facebook.xfrg.tar.lb เป็นต้น
  • อีกวิธีนึงที่เพิ่งจะได้ีรับความนิยมคือ ลิงค์ผ่านบริการย่อ URL (เช่น http://bit.ly/mA0LCq )อันนี้คนเข้าแทบจะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า Link ที่ผ่านการย่อ URL มาแล้วนั้นจะพาเรา้ไปที่ไหน อันนี้นอกจากจะเจอ Phishing ได้ง่ายแล้ว บริการย่อลิงค์นี่อาจจะพาไปสู่ไวรัสและอันตรายอื่นๆอีกเยอะเลย
  • เว็บไซต์สะกดผิด อันนี้จะเป็น URL ที่เผลอสะกดผิดง่ายๆ เช่น amazom.com ก็จะไปสร้างเว็บหลอกไว้ (แต่สำหรับ amazom นั้น ทาง amazon ตัวจริงไปจดเอาไว้แล้วพาไปเว็บจริงให้ถูกต้อง ถือเป็นการป้องกัน phishing อีกวิธีนึง)
http://retwite.appspot.com/
http://twitter.com/

ซึ่งสองสามแบบแรกนั้นหลายๆครั้งก็จะมาในรูปแบบอีเมล มาบอกว่า User คุณไม่ได้ใช้งานนานแล้ว ให้ login เพื่อยืนยันตัวตน (แล้วก็ทำลิงค์หลอกให้เข้าไป) หรือบางทีก็บอกว่า บังคับเปลี่ยน Password ให้เข้าลิงค์นี้แล้วใส่ username/password อันเก่า เป็นต้น

เหล็กกั้นเมืองทอง

โพสต์นี้สร้างมาเพื่อคนแถวบ้านโดยเฉพาะ …

ใครไม่เคยได้ยินชื่อนี้ก็ข้ามๆไป แต่เชื่อว่าหลายๆคนได้ยินชื่อนี้ถึงกับเซ็ง …

“เหล็กกั้นเมืองทอง” เมื่อพูดถึงก็รู้สึกได้ว่าเป็นปมด้อยของชาวดอนเมืองมาก เป็นการทำลายการเดินทางระหว่างซอยยิบย่อยกับถนนแจ้งวัฒนะอย่างแท้จริง … อ่ะ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ มาดูกัน

 

[mappress mapid=”5″]

 

ว่าด้วยเรื่องของผลไม้

ตามธรรมเนียม เมื่อบล็อกเริ่มไม่ได้อัพเดทนาน เราก็จะหาอะไรง่ายๆมาเขียนขั้นรายการซักเล็กน้อย

 

คราวนี้ขอว่าด้วยเรื่องของผลไม้ละกัน เพิ่งหมดฤดูมะยงชิด แล้วช่วงนี้ก็เข้าสู่ฤดูของทุรียน เงาะ และมังคุด เลยเอารูปผลไม้มาลงคลายเหงา 😉

 

กล้วย Dole

ตระกูลแอปเปิล (@Foodland)

มะยงชิด ปอกเปลือกแล้ว 😉

Scroll to top