วิธีการแก้ NAS Buffalo Linkstation Duo ให้รองรับ SMB2

ใช่แล้วครับ Buffalo LinkStation Duo ตัวที่ซื้อมาเมื่อ 10 ปีก่อนนั่นแหล่ะ พักหลังนี่เอามาเป็น NAS สำหรับเก็บ Video จากกล้องวงจรปิด (Xiaomi)

ปกติพวกกล้องวงจรปิดพวกนี้มันเก็บ SD Card ไว้ในตัวเอง แปลว่าถ้าใครซักคนขโมยกล้องไปด้วย เราก็เสียวิดีโอทีอัดไว้ไปด้วย เราเลยให้มันส่ง video มาเก็บไว้บน NAS ด้วย นอกเหนือจากเก็บไว้บนตัวเอง … แต่วันนี้ไม่ได้มาแชร์เรื่องนี้

เรื่องที่ตั้งใจจะแชร์คือ ตั้งแต่ปี 2016, Microsoft แนะนำให้เลิกใช้โปรโตคอล SMB1 พูดง่ายๆก็คือโปรโตคอลที่ Windows ใช้ในการ Share file บน Network นั่นแหล่ะ เพราะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย .. หลายปีผ่านไป Windows 10 เลยปิดการใช้งาน SMB1 เป็นค่าเริ่มต้น

ซึ่งนั่นทำให้เกิดปัญหา เพราะว่าตัว LinkStation ดันมีแค่ SMB1 พอฝั่ง Windows ปิด เลยทำให้เข้า Sharepath ไปหา NAS ไม่ได้ ความยุ่งก็เลยเกิด … หลายๆคนเลยไปเปิด SMB1 กลับมาแทน ซึ่งส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วย เลยลองไปหาข้อมูล เพื่อจะ Enable SMB2 บนตัว NAS แล้วก็พบว่าจริงๆ SMB engine บนตัว NAS (ซึ่งเป็น unix based) เนี่ย รองรับ SMB2 นะ แต่มีค่า configuration ที่ไม่ได้ใส่ไว้ เราเลยต้องมาเพิ่มมันเอง

ขั้นตอนที่จำเป็นจริงๆในการทำให้มันใช้ได้ คือ เพิ่ม code 4 บรรทัด สำหรับเพิ่ม configuration ให้กับตัว SMB Engine บน NAS … แต่มันจะก็ใช่ว่าใครๆจะเข้าไปแก้โคดได้นี่นา นั่นคือขั้นตอนที่ทำให้มันยุ่งขึ้น มาลองดูกัน

* หมายเหตุ การแก้ไขระบบนี้อาจจะทำให้ NAS มีปัญหาจนไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจจะทำให้ NAS มีความปลอดภัยลดลง

1. เปิดสิทธิการเข้าไปแก้ไขไฟล์ในระบบ (Enable root access)

  • ดาวโหลดเครื่องมือ

    มีเครื่องมือที่นักพัฒนาทำไว้ สำหรับเปิดให้เราสามารถ remote access (ssh/telnet) เข้าไปที่ NAS ได้ ตัว tool มีการนำมาพัฒนาต่ออีกหลายอัน ตัวที่ผมใช้แล้วสำเร็จคือตัวนี้ ACP Commander (gry.ch) ผมใช้ตัว EXE for Microsoft Windows ทั้งนี้ตัว tool ต้องการ Java Runtime ด้วย อาจจะต้องดาวโหลดถ้ายังไม่มี

    เมื่อดาวโหลดมาแล้ว คลาย zip แล้วสามารถรันโปรแกรมได้เลย acp_commander_gui_156.exe
  • Enable SSH และ ตั้งรหัสผ่าน root
    โดยปกติตัว acp_commander_gui จะสามารถหา NAS ของเราเจอ ถ้าทั้งคู่ต่ออยู่ใน network เดียวกัน สิ่งที่เราต้องทำก็คือ กรอกรหัสของ admin user ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ user ที่เราล็อกอินเข้าไป manage NAS นั่นแหล่ะ

    ถ้าสำเร็จ ปุ่ม Enable SSH และ ปุ่ม Set Root PW จะ Enable ขึ้นมาให้เรากด เราก็กดตามนั้นเลย เริ่มจาก Enable SSH แล้วตามด้วย Set Root PW ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราใส่รหัส root

    เราสามารถทดสอบได้ด้วยการเปิด powershell หรือ cmd แล้วใช้คำสั่ง ssh -l root {ip address ของ NAS} ถ้าเราเข้าได้ก็แสดงว่าเราพร้อมจะแก้ไขไฟล์ล่ะ ถ้ายังไม่ได้ก็ต้องแก้ไขก่อน keyword น่าจะเป็นการ enable root access บน Buffalo LinkStation LS-WXL

2. แก้ไขไฟล์ smb.sh

เมื่อเราพร้อมแล้ว เราก็ ssh เข้าไปที่ NAS ของเรา โดยแนะนำดังนี้

  • backup file เก่า
    เมื่อเรา ssh เข้าไป ปกติเราจะอยู่ที่ home directory ของ user เราก็ควรจะก๊อปไฟล์มาเก็บไว้ กันเหนียวเผื่อเราแก้ผิด ใช้คำสั่งประมาณ cp /etc/init.d/smb.sh .
  • เริ่มแก้ไฟล์
    บน NAS ไม่มี Editor หรูๆอย่าง nano เราก็ต้องใช้ของที่มีคือ vi ที่ติดมากับ NAS (ส่วนตัวจะไม่พยายามลงอะไรไปนอกเหนือจากที่มีอยู่) วิธีการใช้ vi คงต้องไปหาเพิ่มเติมนะครับ อยู่นอกเหนือจากโพสต์นี้

    เริ่มโดย vi  /etc/init.d/smb.sh
    เมื่อเปิดไฟล์มาแล้ว หา function configure() ซึ่งในนั้นจะมีบรรทัดที่เรียก
        /usr/local/sbin/nas_configgen -c samba
        if [ $? -ne 0 ]; then
                echo "$0 configure fail"
                exit 1
        fi

เราต้องแก้ให้เป็นแบบนี้

        /usr/local/sbin/nas_configgen -c samba
        if [ $? -ne 0 ]; then
                echo "$0 configure fail"
                exit 1
        fi

        /bin/sed -i '3i\\
       min protocol = SMB2\\
       max protocol = SMB2\\
       ' /etc/samba/smb.conf

หลักๆคือเพิ่มด้านล่างลงไป ให้มันไปแก้ configuration ของ SMB ทุกครั้งที่มัน start เมื่อเราแก้ไฟล์แล้ว save ออกมาแล้ว เราก็ให้คำสั่ง /etc/init.d/smb.sh reload ให้มัน reload ใหม่ เสร็จแล้วก็ทดสอบว่าเข้า Sharepath จาก Windows ได้มั๊ย

เป็นอันจบสิ้นกระบวนการ ใครมีอะไรสงสัยลองถามมาได้ครับ

Ref:

Android App : Home Sweet WiFi Picture Sync

 

วันนี้ขอนำเสนอแอพเล็กๆตัวนึง ใช้มาประมาณสามเดือนเห็นจะได้ ประทับใจมากๆ

แอพที่ว่าคือ Home Sweet WiFi Picture Sync (ชื่อจะยาวไปไหน .. )

แอพตัวนี้ ทำงานง่ายๆเพียงอย่างเดียวคือ Sync รูปจากมือถือของเราไปเก็บยัง Computer/NAS ผ่านการ shared folder ผ่าน WiFi  แค่เนี้ย !!

วิธีอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของ Buffalo Linkstation Duo

มีคนถามเข้ามาพอดีว่าจะอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของ Buffalo Linkstation Duo ยังไง (ของผมเป็น LS-WXL)

กอรปกับเฟิร์มแวร์เวอร์ชันใหม่ออกพอดี ก็คือเวอร์ชัน 1.42 (ออกเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2554)

ขอเล่าตั้งแต่แรกเลยละกัน สำหรับคนที่มี firmware version 1.41 อยู่แล้วนั้น ตัวเครื่องจะมีไฟสีเหลืองติดในช่อง Infoerror (version อื่นไม่แน่ใจนะ) และถ้าเปิดตัว NAS Navigator ในคอมขึ้นมา แล้วฟ้องว่า Unknow Error หรืออะไรที่ใกล้เคียงอันนี้ แปลว่า NAS Navi  ของเรานั้นเวอร์ชันเก่าไป อ่าน Message นี้ไม่เข้าใจ ส่วนถ้าเครื่องไหนไม่เป็นก็ข้ามไปขั้นตอนอัพเกรดเฟิร์ทแวร์ได้เลยครับ

ขั้นแรกก็ขอให้อัพเกรดตัว NAS Navi ของเราก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าไฟเหลืองอันนั้นเป็นเพราะต้องการให้อัพเกรดเฟิร์มแวร์จริงๆ ไม่ได้ error เพราะสาเหตุอื่น

NAS Navi ดาวโหลดได้ที่ http://www.buffalo-asia.com/cgi-bin/support/download.cgi?country=th&to=ls_wxl_r1 https://www.buffalotech.com/support/downloads/linkstation-duo เลือกตรง Utilities ตาม OS ของเรา โหลดเสร็จก็คลายซิปแล้ว run ตัว NASNaviInst ก็เป็นอันเสร็จ

DLNA คืออะไร ?

หลังจากที่โม้ไว้หลายครั้งล่ะว่าอุปกรณ์ชิ้นโน้นชิ้นนี้รองรับ เจ้า DLNA ด้วย แต่ก็ไม่เคยเล่าซักทีว่า DLNA ที่ว่ามันคืออะไร ?

คราวนี้เราจะมาดูกันว่ามันคืออะไร ? มีอนาคตยังไง ? ช่วยอะไรเราได้บ้าง ?


DLNA คืออะไร ?

ว่าด้วยเรื่องทฤษฎี DLNA ย่อมาจาก Digital Living Network Alliance  … ถ้าจะให้แปลตามตัวก็คือ เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตอุกปรณ์ต่างๆเพื่อสร้างห้องนั่งเล่นที่สมบูรณ์แบบ (แปลได้เหียกมากเลยกรู)

หรืออีกนัยยะนึง มันก็คือมาตรฐานอันนึงที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนที่รองรับ DLNA นั้น จะเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดายนั่นเอง ข้างล่างเป็นภาพที่ DLNA อยากให้เป็น

 



แล้วไอกลุ่มที่ว่า(สนับสนุน)มีใครบ้าง ?

เอาเฉพาะที่ผมคัดเลือกมาละกัน … เห็นได้ชัดเป็นเป็น Samsung เพราะพี่แกใส่มาในแทบจะทุก Device ที่เป็นไปได้ คนอื่นๆก็มี Cisco,  LG, Intel, Huaweii,  Sony, Toshiba, Pioneer, Ericsson,  HP, HTC Nokia, Moto .. พอล่ะ


แล้วมันทำอะไรได้บ้าง ?

จากที่ลองเล่นมา อุปกรณ์ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว

ซึ่งที่เท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน

ข้างบนเป็นการเล่าแบบบ้านๆ แต่ถ้ามาดูตามทฤษฏีเนี่ย เค้าบอกว่า DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ

  • Digital media servers (DMS)
  • Digital media players (DMP)
  • Digital media controllers (DMC)
  • Digital media renderers (DMR)


เล่นไฟล์ประเภทได้บ้าง

จากที่เห็นก็จะมีการแบ่งประเภทเป็น ไฟล์เพลง ไฟล์หนัง ไฟล์รูปถ่าย ไฟล์ Video ที่อัดมากจาก TV เป็นต้น


อยากลองใช้ต้องทำไง ?

ตอนนี้ Windows Media Player 11 บน Windows 7 รองรับมาตรฐานนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถเล่นเพลงจากอุปกรณ์อื่นๆได้ หรือสามารถ Share เพลงให้อุปกรณ์อื่นๆที่รองรับ DLNA เล่นได้เช่นกัน


Samsung Galaxy S with DLNA


ส่วนใครที่เป็นเจ้าของ Samsung Galaxy S แล้วล่ะก็ มีข่าวดีคือคุณสาสามารถใช้ DLNA ผ่านโปรแกรมที่ติดตั้งมาอยู่แล้ว ชื่อ “All Share” ซึ่งถ้ามีโอกาสจะมาทำให้ดูเป็นตัวอย่างกันครับ

และอีกอุปกรณ์ที่รองรับ DLNA ที่ผมใช้อยู่ก็คือ เจ้า Buffalo LinkStationDuo ซึ่งรองรับ DLNA ผ่าน Service ที่ชื่อ Media Server ซึ่งต้องไป Enable Service ในหน้า Management ก่อน และกำหนด Folder ที่ให้ Media Server เข้าถึงได้ เท่านี้ อุปกรณ์อื่นๆก็เล่นไฟล์จากเจ้า NAS ของเราได้แล้ว


Samsung LCD TV with DLNA


อีกชิ้นนึงที่ผมมองๆอยู่ ก็คือ Samsung LCD/LED TV Series 7 ขึ้นไป ที่รองรับ DLNA ด้วย ทำให้สามารถ Browse ไฟล์หนังจากเจ้า NAS มาเล่นได้เลยโดยไม่ต้อง Write แผ่นให้โลกร้อน และเจ้าตัวนี้ยังสามารถเล่น Web บางอันได้ในตัวเองเลย เช่น Youtube และ Streaming บางเว็บ เจ๋งมั๊ยล่ะ

Review : Buffalo LinkStation Duo

ก่อนจะได้เจ้าตัวนี้มาครอบครอง เรื่องมันมีอยู่ว่า

เคยเจออาการที่เรียกว่า “อารยธรรมล่มสลาย” กันมั๊ยครับ .. อาการที่ว่ามักจะมาพร้อมกับการเปิดเครื่องแล้วเข้าวินโดว์ไม่ได้ ดิสก์พังท้ายที่สุดก็ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ .. แต่นั่นก็ยังไม่ช้ำใจเท่ากับ “แล้วข้อมูลเก่าของตูล่ะ ??” ไฟล์ต่างๆ โปรแกรมต่างๆ ที่สั่งสมมายาวนานหายไปไหรพริบตา Bookmark เว็บที่เคยเข้า, ไฟล์ Password, Script ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิต .. หายเกลี้ยง หมดกัน Y_Y

แล้วเคยเจออาการที่แบบว่า เฮ่ยๆหนังเรื่องนี้เจ๋งอ่ะ เอามาดูมั่งๆ …  พอมาถึงเครื่อง … ลบอะไรดีหว่า พื้นที่มันไม่พอ !!

ยิ่งช่วงหลังๆถ่ายรูปเยอะจัดๆ พื้นที่ก็หายไปเป็นเงาตามตัว สิ่งที่ช่วยได้ก็คือหาอะไรมาเก็บข้อมูลเพิ่มรวมทั้งไว้แบคอัพไล์จากคอมนั่นเอง

เมื่อเหตุผลเพียงพอก็ถึงเวลาที่จะจัดหา External Storage ซักตัวเพื่อเอาไว้เก็บข้อมูลรูปถ่าย เพลง ไฟล์สำคัญต่างๆ

หลังจากนำเรื่องการซื้อเจ้า External Storage เข้าสู่ที่ประชุม ที่ประชุมก็อนุมัติให้ซื้อได้ (ก็ตูนี่แหละ ประชุมอยู่คนเดียว) เลยได้กำหนด Spec คร่าวๆดังนี้

  • มีทั้งพอร์ท Lan และ USB ซึ่งด้วยเงื่อนไขอันนี้แหล่ะทำให้มันแพง ถ้าธรรมดามีเฉพาะ USB หรือมี Firewire ราคาจะไม่แพงเท่านี้ แต่ข้อเสียมันก็คือ มันจะ Access ได้ทีละเครื่องเท่านั้น จะต่อ PC ก็ต้องมาเสียบที โน๊ตบุคก็ต้องเสียบอีกที สู้ต่อ Lan เข้า Router ไปเลยทีเดียวจบ
  • ขนาดไม่ควรต่ำกว่า 1 TB (อ่านว่า เทราไบต์ และ 1 TB = 1000 GB)
  • รูปร่างหน้าตาควรจะไปวัดไปวาได้บ้าง ขนาดเล็กได้ยิ่งดี (อันนี้วัดความพึงพอใจล้วนๆ)

หลังจากนั้นจึงได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว ว่าเป็นเจ้า LINKSTATION PRO 1.5TB ของ Buffalo (หวังว่าใช้แล้วจะไม่ได้รู้สึกตามชื่อมันนะ)

แต่ๆๆๆ พอไปซื้อเดินซื้อที่ IT Square ก็พบว่ารุ่นนี้ไม่มีขายแล้ว แล้วเค้าก็ไม่ได้นำเข้ามาแล้ว Y_Y (ไม่รู้จริงๅหรือว่าหลอกอ่ะเนอะ) สุดท้ายแล้วเลยกัดฟันกัดเหงือกกัดลิ้นกัดคอถอยเจ้า Buffalo LinkStation Duo ขนาด 2 TB มาแทนเสียเงินเยอะกว่าเดิมเยอะเลย Y_Y

Spec ก็ตามนี้เลย (ต้นฉบับ) รุ่น LS-WX2.0TL/R1

มาลองแกะกล่องดูกัน

Scroll to top