Android App : Locale ตั้งค่าเครื่องตามสภาพแวดล้อม

ได้เวลาเสียตังค์กันอีกแล้วว ..

จริงๆต้องขอเกริ่นก่อนว่าแอพตัวที่จะพูดถึงวันนี้ เป็นแอพที่แอบเล็งไว้ตั้งแต่ก่อนซื้อมือถือแล้ว (สมัยนั้นมันยังฟรีอยู่เลย)

แล้วอยู่ๆมันก็หายจาก Market ไปพักนึง .. สุดท้ายมันก็กลับมาแล้วว

แอพที่ว่าคือ  Locale  

สิ่งที่แอพตัวนี้ทำ เป็นอะไรที่พื้นฐานมากๆคือการตั้งค่าต่างๆของเครื่องตามสภาพแวดล้อม .. ยกตัวอย่างเช่น สั่งให้ปิดเสียงตอนอยู่ที่ทำงาน สั่งให้เปิด WiFi ตอนอยู่บ้าน .. ปรับความสว่างหน้าจอตอนออกไปข้างนอก เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งมือถือมันควรจะทำได้ตั้งแต่เกิดแล้วว

 

ไหนๆ ก็เคยพูดถึงการซื้อของในแอพของแอนดรอยด์ (In-app Purchase) ไปแล้ว คราวนี้เลยลองว่าด้วยการซื้อแอพจาก Android Market บนมือถือดูบ้าง

ในที่นี่ผมได้ผูกบัตรเครดิตกับ Google Checkout ไว้แล้วจึงไม่เห็นหน้าจอการตั้งค่า Google Checkout แต่รายละเอียดตรงนั้นไม่ยาก ลองทำตามๆคำแนะนำแป๊บเดียวก็ได้

ขั้นแรกก็เข้าไปที่แอพที่จะซื้อใน Android Market … จะเห็นราคาเป็นเงินบาทอยู่ในปุ่มสีน้ำเงินด้านบนขวา .. ต้องบอกก่อนว่าราคาตรงนี้เป็นราคาประมาณ แปลงมาจาก US Dollars ซึ่งเวลาคิดเงินจะเป็นเป็น $ แล้วบัตรเครดิตจะไปแปลงอีกทีตามค่าเงิน ณ สิ้นสุดวันนั้น

          

 

ขั้นต่อมาก็แค่กดปุ่มสีฟ้าที่ว่า .. ถือว่าเริ่มขั้นตอนซื้อ

ให้เช็ครายละเอียดกูเกิลแอคเคาท์กับบัตรเครดิต.. แล้วกด Accept & buy ซักแป๊บมันก็จะตรวจสอบแล้ว Download มาลงเองโดยอัตโนมัติ

พอดาวโหลดเสร็ตจะเห็นหน้าจอเหมือนด้านล่าง คือมีปุ่มให้เปิดแอพ .. หรือจะขอคืนเงิน (Refund) ซึ่งเราสามารถขอคืนเงินได้ภายใน 15 นาทีหลังจากกดซื้อ (เอาเข้าจริงๆ 15 นาทีนี่แทบยังไม่ค่อยได้ใช้เลย)  .. ก็เป็นอันเสร็จการซื้อแอพ (ง่ายเกิ๊น)

จบเรื่องรายละเอียดการซื้อ … มาลองดูตัวแอพกันบ้างว่ามันทำอะไรได้บ้าง ?

 

เข้าหน้าแรกมาจะเจอกับหน้าจอ Situation .. เอาไว้ดูว่าเราตั้งค่าไว้กี่สภาพแวดล้อม (ฟังดูแปลกๆเนอะ)  .. ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้ยังไม่มีเลย

สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือ กด Add Situation .. เพื่อตั้งค่าตามสถานการณ์ต่างๆ

ซึ่งการตั้งค่าก็จะมีสองส่วน ส่วนแรกคือเงื่อนไข (condition) เพื่อเช็คสภาพแวดล้อม ว่า พิกัด GPS เข้าข่ายรึเปล่า เช็ค WiFi เช็คเวลา ไรเงี้ย

         

อีกค่า คือค่าที่จะให้ปรับ (setting) ว่า ถ้าเข้าเงื่อนไขแล้วจะให้ปรับอะไร บ้าง เช่น ปรับแสง เปลี่ยนริงโทน ปิดสั่น เปิด WiFi เป็นต้น

                     

เมื่อเราตั้งค่าเสร็จกด Save ก็เป็นอันเสร็จสิ้น …  ซึ่งเราสามารถเพิ่มตัว Situation ได้เรื่อยๆตามแต่เราต้องการ ที่บ้าน ที่ทำงาน วัด เจอ WiFi คว่ำโทรศัพท์ ตอนกลางคืน ไรเงี้ย ตามสะดวก

พอเราสร้าง Situation แรกเสร็จ ตัวโปรแกรมจะขึ้นมาให้เราสร้าง Default Situation .. เพราะเวลาไม่เข้าข่าย Condition ไหนเลย .. โปรแกรมจะเปลี่ยนเครื่องเราให้กลับเป็น Default .. เพราะฉะนั้นค่านี้ก็คือค่าเดิมๆของเครื่องเราที่เราอยากให้เป็นตลอดเวลานั่นเอง

เมื่อเราตั้งค่าของ Default Situation เสร็จก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ ที่เหลือก็ให้มันทำหน้าที่ของมัน … เราก็จะได้ไม่ต้องคอยระวังว่าเวลางานจะทำให้เสียงโทรศัพท์รบกวนคนอื่น หรือเวลาออกมาข้างนอกแล้วก็ลืมเปิดเสียงจนไม่ได้ยิน .. ราคาก็ตกประมาณ 120 กว่าบาท คุ้มอยู่นะ 🙂

 

อ้อ .. อีกอย่างนึง เนื่องจากแอพนี้มีมานานมากก ตั้งแต่ยุคแรกๆเลย แล้วคนพัฒนาก็ทำให้รองรับ Plugin ได้ด้วย แปลว่าเราสามารถลง Plugin เพื่อเพิ่ม Condition / เพิ่ม Setting ได้ด้วย เช่น มี Plugin Twitter ให้ลองเล่น .. พอเราถึงที่ทำงาน (เช็คกับ GPS) ก็ให้ทวีตทันทีไรเงี้ย (โรคจิตเกิ๊น)

ซึ่งตัว Plugin มีให้ลองเล่นเพียบเลย ทั้งฟรีและเสียตังค์ .. ลองเล่นกันดูนะคร๊าบบ 🙂

 

Summary Info

Name : Locale

Developer two forty four a.m. LLC

Link https://market.android.com/details?id=com.twofortyfouram.locale

Size : Varies with device, Less than 1 MB on Galaxy S

Requires Android : 1.5 and up

Price : 3.99 $

Android Game: Contract Killer มาถือ 4-6 ขึ้นมุมตึกกันเถอะ

ช่วงนี้ติดเกมส์นี้อย่างหนักเลย.. เล่นเกมส์นี้ติดกันมาห้าวันแล้ว 😉

Contract killer เป็นของบริษัท Glu … ซึ่งจริงๆ Android เป็นแพลตฟอร์มที่สองของเกมส์นี้ เวอร์ชันแรกนั้นออกบน iPhone

ตัวเกมส์ว่าให้เราเป็นมือปืนรับจ้าง … ที่อาจจะต่างจากบ้านเราที่เน้นขี่มอไซค์ประกบยิง (น่าจะมีใครทำเกมส์แบบนี้ออกมาบ้างเนอะ) เกมส์จะมีผู้ติดต่อ (Contractor)ให้เราไปเก็บคนนู้นคนนี้ เราจะไม่สามารถบังคับให้ตัวละครเดินไปไหนมาไหนได้  (จริงๆตัวละครอาจจะพิการ) …

Android In-App Purchase : การจ่ายตังค์ในแอพของน้องด๋อย

หลังจาก Google อนุญาติให้สาวกชาวไทยซื้อแอพบน Android Market ได้แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะลองผลาญเงินผ่าน Market ให้สมใจอยาก

อันดับแรกที่จำเป็นต้องทำก่อนที่จะซื้อแอพก็คือ การตั้งค่า Google Checkout สำหรับจ่ายตังค์เวลาซื้อแอพทั้งหลาย (ถึงแม้ว่าจะมีข่าวว่ากูเกิลกำลังเจรจากับ Paypal เพื่อให้จ่ายเงินผ่านทาง Paypal ได้ แต่ ณ วันนี้ (23/05/2011) เรายังมี Google Checkout เป็นช่องทางเดียวในการชำระเงิน) ข้อมูลที่ Google Checkout เก็บไว้ก็คงเป็นลักษณะเหมือนๆกับ Amazon 1-click ที่เก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ (แล้วก็ภาวนาให้มันปลอดภัย) เวลาจะซื้อก็แค่เลือกว่าจะจ่ายด้วยบัตรใบไหนก็เป็นอันเสร็จ .

 

คราวนี้เรามาดูการซื้อของที่เรียกว่า In-App Purchase ที่เป็นขั้นกว่าของการซื้อแอพ 😉

In-App Purchase เป็นการจ่ายตังค์ภายในแอพ (แปลตรงตัวไปมั๊ย) เอาไว้ใช้เวลาเราต้องการซื้อ Feature/Function/Item เพิ่มจากเกมส์หรือโปรแกรมที่เราโหลดไปแล้ว (ซึ่งอาจจะโหลดฟรีหรือไม่ก็ได้)

ตัวอย่างเช่น ผมโหลดเกมส์ Cordy มาเล่น ซึ่งเป็นเกมส์ฟรี แต่มีให้เล่นแค่สี่ด่าน พอจบด่านสี่เจ้าเกมส์ก็จะถามว่าจะซื้อด่านเพิ่มมั๊ย ? ซึ่งคิดราคา 1.99$ (ประมาณ 60บาท)  เดี๋ยวจะอธิบายวิธีซื้อต่อไป ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ ผมไม่ต้องโหลดเกมส์ใหม่ คนทำก็ไม่ต้องแยกแอพเป็นเวอร์ชันฟรีกับเสียตังค์ แค่ลองโหลดมาใช้แล้วชอบ ก็จ่ายตังค์เพื่อปลดล็อกฟีเจอร์ได้เลย

อีกตัวอย่างจาก In-App Purchase ก็เช่น ซื้อ Item ในเกมส์, จ่ายตังค์เพื่อปิดโฆษณาในแอพ, จ่ายตังค์เพื่อใช้ Feature พิเศษ, หรืออาจจะรวมไปถึงการ Donate ได้ด้วยซ้ำไป

 

มาต่อกันทีเ่กมส์ Cordy เมื่อเล่นๆไปจบด่านฟรี ก็จะมี Popup ขึ้นมาถามว่าเราจะซื้อมั๊ย

Start In-App purchase process

เราก็ตอบ .. ตกลง ก็จะได้หน้าจอตามด้านล่าง เป็นรายละเีอียดของบัตรที่จะหักเงิน (ที่เราใส่ใน Google Checkout ก่อนหน้านี้

Scroll to top