Android App : Backup SMS to Gmail

พอดีว่าพึ่งจะลง Rom ใหม่ให้ Galaxy S อีกครั้ง .. แล้วก็เป็นอีกครั้งที่ลืมนึกไปว่า SMS มันหายหมด .. เพราะเดี๋ยวนี้ SMS มันเก็บไว้บนเครื่องแล้ว ไม่ได้เก็บไว้บน Sim card เหมือนเมื่อก่อน (จริงๆยังเก็บในซิมเหมือนเดิมก็ได้ แต่ไม่มีใครใช้แล้ว)

 

หลังจากลงรอมใหม่เสร็จ (แน่นอนว่า SMS เดิมหายหมดแล้ว) ก็ดัีนเจอเจ้าโปรแกรมนี้  SMS Backup เจ๋งมวากกเลย

การทำงานอธิบายง่ายๆคือโปรแกรมทำการแปลง SMS บนเครื่องเป็นอีเมล แล้วใช้ Protocol IMAP ส่งไปเก็บไว้บน Gmail (นี่ง่ายแล้วหรอวะ)

 

โดยโปรแกรมจะทำการหาชื่อ (หรือ email) ของคนที่ส่ง SMS หาเราจาก contact .. แล้วก็เอาไปเป็น Sender ของ mail ที่ส่งไปเก็บด้วย

หน้า Settings

พูดง่ายๆก็คือ เราจะเห็นเหมือนว่าคนที่ส่ง SMS หาเราคนนั้น เป็นคนเมลมาหาเรานั่นเอง

 

สิ่งที่โปรแกรมนี้ทำได้อีกอย่างก็คือ มันจะปะ Label SMS (เปลี่ยนได้) ให้เราด้วย .. รวมทั้งยังสามารถ Mask as read อีเมลนั้นให้เราด้วย

Advance Settings

สุดท้ายก็เลยกลายเป็นการ Backup SMS ไปไว้บน Gmail อย่างสมบูรณ์

แถมหน่อยนึงว่า ถ้า Contacts ของเรามี Email คนนั้นๆอยู่ด้วย เราสามาารถ replay กลับไปทาง email นั้นได้เลยด้วยแหล่ะ

 

แถมวิธีการเปิดใช้ IMAP ของ Gmail 

– เข้า Gmail ของเรา

– เข้าหน้า Mail Settings

– เลือกแท็บ Forwarding and POP/IMAP

– เลือก Enable IMAP

– Save

วิธี Enable IMAP บน Gmail

 

Summary Info

Name : SMS Backup

Developer : Christoph Studer

Link https://market.android.com/details?id=tv.studer.smssync

Size : 223 KB

Requires Android : 1.5 and up / Gmail Acc with IMAP enabled

Price : Free

 

Android App : Home Sweet WiFi Picture Sync

 

วันนี้ขอนำเสนอแอพเล็กๆตัวนึง ใช้มาประมาณสามเดือนเห็นจะได้ ประทับใจมากๆ

แอพที่ว่าคือ Home Sweet WiFi Picture Sync (ชื่อจะยาวไปไหน .. )

แอพตัวนี้ ทำงานง่ายๆเพียงอย่างเดียวคือ Sync รูปจากมือถือของเราไปเก็บยัง Computer/NAS ผ่านการ shared folder ผ่าน WiFi  แค่เนี้ย !!

วิธีอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของ Buffalo Linkstation Duo

มีคนถามเข้ามาพอดีว่าจะอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของ Buffalo Linkstation Duo ยังไง (ของผมเป็น LS-WXL)

กอรปกับเฟิร์มแวร์เวอร์ชันใหม่ออกพอดี ก็คือเวอร์ชัน 1.42 (ออกเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2554)

ขอเล่าตั้งแต่แรกเลยละกัน สำหรับคนที่มี firmware version 1.41 อยู่แล้วนั้น ตัวเครื่องจะมีไฟสีเหลืองติดในช่อง Infoerror (version อื่นไม่แน่ใจนะ) และถ้าเปิดตัว NAS Navigator ในคอมขึ้นมา แล้วฟ้องว่า Unknow Error หรืออะไรที่ใกล้เคียงอันนี้ แปลว่า NAS Navi  ของเรานั้นเวอร์ชันเก่าไป อ่าน Message นี้ไม่เข้าใจ ส่วนถ้าเครื่องไหนไม่เป็นก็ข้ามไปขั้นตอนอัพเกรดเฟิร์ทแวร์ได้เลยครับ

ขั้นแรกก็ขอให้อัพเกรดตัว NAS Navi ของเราก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าไฟเหลืองอันนั้นเป็นเพราะต้องการให้อัพเกรดเฟิร์มแวร์จริงๆ ไม่ได้ error เพราะสาเหตุอื่น

NAS Navi ดาวโหลดได้ที่ http://www.buffalo-asia.com/cgi-bin/support/download.cgi?country=th&to=ls_wxl_r1 https://www.buffalotech.com/support/downloads/linkstation-duo เลือกตรง Utilities ตาม OS ของเรา โหลดเสร็จก็คลายซิปแล้ว run ตัว NASNaviInst ก็เป็นอันเสร็จ

Review : Buffalo LinkStation Duo

ก่อนจะได้เจ้าตัวนี้มาครอบครอง เรื่องมันมีอยู่ว่า

เคยเจออาการที่เรียกว่า “อารยธรรมล่มสลาย” กันมั๊ยครับ .. อาการที่ว่ามักจะมาพร้อมกับการเปิดเครื่องแล้วเข้าวินโดว์ไม่ได้ ดิสก์พังท้ายที่สุดก็ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ .. แต่นั่นก็ยังไม่ช้ำใจเท่ากับ “แล้วข้อมูลเก่าของตูล่ะ ??” ไฟล์ต่างๆ โปรแกรมต่างๆ ที่สั่งสมมายาวนานหายไปไหรพริบตา Bookmark เว็บที่เคยเข้า, ไฟล์ Password, Script ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิต .. หายเกลี้ยง หมดกัน Y_Y

แล้วเคยเจออาการที่แบบว่า เฮ่ยๆหนังเรื่องนี้เจ๋งอ่ะ เอามาดูมั่งๆ …  พอมาถึงเครื่อง … ลบอะไรดีหว่า พื้นที่มันไม่พอ !!

ยิ่งช่วงหลังๆถ่ายรูปเยอะจัดๆ พื้นที่ก็หายไปเป็นเงาตามตัว สิ่งที่ช่วยได้ก็คือหาอะไรมาเก็บข้อมูลเพิ่มรวมทั้งไว้แบคอัพไล์จากคอมนั่นเอง

เมื่อเหตุผลเพียงพอก็ถึงเวลาที่จะจัดหา External Storage ซักตัวเพื่อเอาไว้เก็บข้อมูลรูปถ่าย เพลง ไฟล์สำคัญต่างๆ

หลังจากนำเรื่องการซื้อเจ้า External Storage เข้าสู่ที่ประชุม ที่ประชุมก็อนุมัติให้ซื้อได้ (ก็ตูนี่แหละ ประชุมอยู่คนเดียว) เลยได้กำหนด Spec คร่าวๆดังนี้

  • มีทั้งพอร์ท Lan และ USB ซึ่งด้วยเงื่อนไขอันนี้แหล่ะทำให้มันแพง ถ้าธรรมดามีเฉพาะ USB หรือมี Firewire ราคาจะไม่แพงเท่านี้ แต่ข้อเสียมันก็คือ มันจะ Access ได้ทีละเครื่องเท่านั้น จะต่อ PC ก็ต้องมาเสียบที โน๊ตบุคก็ต้องเสียบอีกที สู้ต่อ Lan เข้า Router ไปเลยทีเดียวจบ
  • ขนาดไม่ควรต่ำกว่า 1 TB (อ่านว่า เทราไบต์ และ 1 TB = 1000 GB)
  • รูปร่างหน้าตาควรจะไปวัดไปวาได้บ้าง ขนาดเล็กได้ยิ่งดี (อันนี้วัดความพึงพอใจล้วนๆ)

หลังจากนั้นจึงได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว ว่าเป็นเจ้า LINKSTATION PRO 1.5TB ของ Buffalo (หวังว่าใช้แล้วจะไม่ได้รู้สึกตามชื่อมันนะ)

แต่ๆๆๆ พอไปซื้อเดินซื้อที่ IT Square ก็พบว่ารุ่นนี้ไม่มีขายแล้ว แล้วเค้าก็ไม่ได้นำเข้ามาแล้ว Y_Y (ไม่รู้จริงๅหรือว่าหลอกอ่ะเนอะ) สุดท้ายแล้วเลยกัดฟันกัดเหงือกกัดลิ้นกัดคอถอยเจ้า Buffalo LinkStation Duo ขนาด 2 TB มาแทนเสียเงินเยอะกว่าเดิมเยอะเลย Y_Y

Spec ก็ตามนี้เลย (ต้นฉบับ) รุ่น LS-WX2.0TL/R1

มาลองแกะกล่องดูกัน

วิธีกู้ WordPress

เช้าวันนึงเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ได้พบกับความประหลาดใจเมื่อเข้ามาเช็คสถิติเว็บตามปกติและพบว่า… เว็บหาย !! ใช่แล้วครับคุณอ่านไม่ผิด เว็บหาย !! ตอนแรกในใจก็คิดว่าอาจจะเป็นเรื่อง Server Down ซึ่งเกิดขึ้นได้ปกติทั่วไปตามเครื่องที่เปิดไว้ตลอดเวลา เลยลองไปเข้า Blog ของ @Poom3d เพื่อดูว่าเว็บเจ้าของ Host ยังปกติดีอยู่มั๊ย และก็พบกับข้อความอันทำให้เสียวสันหลังวาบว่า “Poomsoft โดน Amegadon ลง” ในใจตอนนั้นคิดว่า มันแปลว่าอะไรวะ เกิดอะไรขึ้น .. แล้วเว็บกรูล่ะ – -“


ต่อมาเลย Login เข้า CPanel ของเซอร์เวอร์เพื่อดูความผิดปกติซึ่งก็พบว่าไฟล์ในโฟลเดอร์สำหรับเว็บไอแก้วทั้งหมดได้หายไปจริงๆด้วย ทันใดนั้นก็นึกถึงความรู้สึกของการทำ BCP ขึ้นมาทันทีแต่ต่างกันที่ว่าอันนี้มันเป็นแค่บล็อกเล็กๆที่ไม่ค่อยมีคนเข้า แต่ด้วยความรู้สึกตอนนั้นคือ ยังไงก็จะพยายามกู้มันกลับมาให้ได้เพราะหลายๆโพสต์ในนี้มีค่าแก่การจดจำอย่างยิ่ง


หลังจากรู้ว่าไฟล์ของเว็บทั้งหมดได้หายไป  ก็พยายามหาวิธีกู้ข้อมูล โดยได้ข้อมูลเพิ่มเติมคือ Database WordPress ของเว็บยังอยู่ทั้งหมด เลยนำไปสู้ขั้นตอน(ที่คิดขึ้นเอง)สำหรับการกู้เว็บกลับคืนมา


หมายเหตุ วิธีทั้งหมดนี้เขียนขึ้นมาด้วยตัวเองล้วนๆ ไม่แน่ใจว่ามีผลกับ WordPress อย่างไรหรือไม่โปรดใช้ด้วยความระมัดระวัง


ขั้นแรก ต้องมั่นใจว่า Database ของเว็บยังอยู่ปกติจริงๆ หรือหลังจาก Restore DB แล้วยังปกติ โดยลองเข้าไป Select ข้อมูลเล็กน้อยจาก WordPress DB ดูว่าปกติจริงๆ

ขั้นที่ 2 ทำการ Download WordPress จากเว็บ www.wordpress.org ซึ่งขอให้เป็น Version เดียวกับที่เราใช้อยู่ก่อนที่มันจะหายไป

ขั้นที่ 3 ทำการ Upload ไฟล์ WordPress และ Extract อยู่ตาม Path เดิมให้เรียบร้อย

ขั้นที่ 4 ทำการแก้ไข Config ของเว็บ ซึ่งทำได้สองวิธีคือ  แก้ไฟล์ wp-config.php โดย rename จากไฟล์ที่มีอยู่คือ wp-config-sample.php แล้วแก้ไขค่าข้างในให้ถูกต้อง หรือวิธีที่ 2 เข้า Url  Blog ของเราแล้วตัว WordPress จะสร้างหน้าสำหรับ Config มาให้โดยกรอกข้อมูลของ Database ที่เราใช้

ขั้นที่ 5 เมื่อ Config เสร็จแล้วไม่ต้องกด Install ให้ข้ามไป Login เข้า /Wp-Admin เลยด้วย Password Admin เดิม

ขั้นที่ 6 เข้าไปส่วน Settings หน้าไหนที่เราแก้ Config ต่างจาก Default ให้เข้าไป Submit อีกรอบนึงเช่น ค่า Permalinks ที่เรากำหนดให้ URLs เป็น %Postname% แทน /ปี/เดือน/ อะไรแบบนี้ต้องเข้าไป Submit ใหม่

PermalinkReSubmit


ขั้นที่ 7 ไปหน้า Theme แล้ว Search หาธีมที่เราเคยใช้ แล้วเลือก Install

ขั้นที่ 8 อันนี้สำคัญมากๆ มีโอกาสแค่ครั้งเดียวเท่านั้นอ่านให้จบข้อก่อนนะ..  เข้าไปที่หน้า Plugins เมื่อเข้ามาถึงแล้วให้ Capture เก็บไว้เลย เพราะ WordPress จะแสดง Plugin ที่ Error ทั้งหมดขึ้นมา เนื่องจากมีอยู่ใน Database แต่ไม่มีไฟล์ Plugin นั้นๆ ซึ่งที่สรุปได้ มันก็คือ Plugin ที่เราเคยลงไว้ทั้งหมดนั่นเอง โดยมันจะปรากฏครั้งเดียวตอนเข้าหน้า Plugins ครั้งแรกหลังจากลง WordPress ใหม่

PluginError

ขั้นที่ 9 เมื่อได้ รายชื่อ Plugin แล้วก็ทำการลงใหม่ โดนจะไป Download เองหรือ Install ผ่าน Search ในหน้า Plugin ก็ได้ เมื่อลงแล้วส่วนใหญ่ Config เดิมจะยังอยู่ครบถ้วน






ถึงตอนนี้คาดว่าเข้าหน้าเว็บได้แล้ว ควรจะขึ้นโพสต์ที่เราเคยเขียนไว้ทั้งหมด ซึ่งส่วนต่อมาที่เราจะต้องจัดการจะเป็นส่วนของรูปภาพซึ่งค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร


โดยส่วนของรูปภาพนั้นจะขึ้นอยุ่กับ Path ที่เราเก็บรูปด้วยว่าเราตั้งไว้ที่ไหน ซึ่งที่ผมได้ตั้งไว้คือ wp-content/uploads แล้วตั้งให้เป็นแบ่งตาม ปี /เดือน สุดท้ายแล้วจะได้ตามนี้คือ ถ้าภาพที่ upload เดือนสิงหาคม 2009 จะอยู่ที่ wp-content/uploads/2009/08/ เป็นต้น


การ upload รูปซ่อมนั้นทำได้ดังนี้

1. เข้าไปเปลี่ยน Path ของการ Upload ให้ไปที่ Path นั้นๆจริงๆเช่น เราจะซ่อมรูปที่ Upload ไปเมื่อ 05/2009 ให้ไป Set ค่า Upload Path ที่เมนู Miscellaneous Settings เป็น wp-content/uploads/2009/05 และให้ติ๊กออกในข้อ

Organize my uploads into month- and year-based folders


2. ทำการ Upload รูปตามปกติ


3. เข้า PhpMyAdmin หรือ DB Query ตัวอื่นๆ ไป Select ดูใน Table ดังนี้

SELECT * FROM `wp_posts` WHERE Post_Date > 'yyyy-mm-dd'

โดย yyyy-mm-dd แทนวันที่ที่คุณ Upload ซึ่งจำนวน Record ที่ได้ควรจะเท่ากันกับรูปที่ Upload ไป เมื่อตรวจสอบว่าเท่ากันแล้วก็ ลบมันซะ เพื่อที่ว่าจะใน Media Library จะได้ไม่มีข้อมูลรูปซ้ำ

เมื่อจะเปลี่ยนเดือนก็ไปแก้ค่าตามข้อ 1 ให้เป็นเดือน หรือ Folder ที่ต้องการแล้วทำตามข้อ 2-3 ใหม่


4. เมื่อทำการ Upload ซ่อมเสร็จหมดแล้วก็แก้ไขค่า Config Miscellaneous Settings กลับเป็นเหมือนเดิมก็เป็นอันเสร็จพิธี


ซึ่งสาเหตุที่ต้องซ่อมรูปแบบนี้เพื่อที่ว่าจะได้มีรูปเหมือนเดิม ถูก Resize เป็นสามขนาดเหมือนเดิมและใน Post ต่างๆของเราไม่ต้องตามไปแก้อีก ทั้งนี้ระหว่างที่เปลี่ยน Config ของ Upload Path อาจเป็นไปได้ว่าไปดูรูปใน Post แล้วไม่ขึ้น ให้ลองแก้ Config กลับแล้วไปดู Post นั้นอีกที



*** สิ่งสุดท้ายที่ควรทำคือ การลง Plugin สำหรับ Backup WordPress ของเรา ตอนนี้ที่ลองใช้คือตัว WordPress Backup ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถตั้งเวลาให้ทำงานได้ ลองใช้กันดูนะ ^^

Scroll to top