Phishing : สร้างเว็บหลอกแล้วปอกลอก

พอดีว่าไปอ่านบล็อกของ Pakkardkaw (ขยันปั่นชิบ) เรื่องเว็บ Hotmail ปลอมหลอกถาม Password เลยขอเอามาขยายความหน่อย 🙂

เหตุการณ์อย่างที่กล่าวข้างต้นคือการทำ Phishing ซึ่งเป็นคำที่แสลงมาจาก Fishing อีกที ความหมายก็เป็นเหมือนๆการตกปลา คือปล่อยเหยื่อล่อแล้วให้ปลามากินเหยื่อ ในที่นี้ก็คือสร้างเว็บหลอกให้เราเข้าไปกรอกข้อมูล

ส่วนเหตุการณ์จริงก็จะเป็นประมาณสร้างเว็บหน้าตาเหมือนเว็บชื่อดังทั่วไป (ดูด้วยตาจะเหมือน 100% เลย) ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางเว็บการเงิน เว็บเมล เว็บ Social Network หรือว่าง่ายๆก็คือเว็บที่น่าขโมย Username/Password ไปจนถึงรหัสบัตรเครดิต, บัญชีธนาคารกันเลยทีเีดียว

เมื่อมีเว็บที่หน้าตาเหมือนต้นฉบับแล้ว อันต่อมาก็คือ วิธีทำให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บหน้านั้นๆ ส่วนใหญ่จะมากับ Link แบบต่างๆเช่น

  • ลิงค์ที่มาจากรูปภาพ อันนี้ก็จะดูยากหน่อยว่าจริงๆแล้ว Link นั้นจะพาเราไปไหน
  • ลิงค์ที่ตัวอักษรดูดี แต่ซ่อนปลายาทางไปอีกที่นึง เช่น ตัวอักษรเป็น Facebook.com แต่ตัว Link จริงๆพาไปที่ facebook.xfrg.tar.lb เป็นต้น
  • อีกวิธีนึงที่เพิ่งจะได้ีรับความนิยมคือ ลิงค์ผ่านบริการย่อ URL (เช่น http://bit.ly/mA0LCq )อันนี้คนเข้าแทบจะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า Link ที่ผ่านการย่อ URL มาแล้วนั้นจะพาเรา้ไปที่ไหน อันนี้นอกจากจะเจอ Phishing ได้ง่ายแล้ว บริการย่อลิงค์นี่อาจจะพาไปสู่ไวรัสและอันตรายอื่นๆอีกเยอะเลย
  • เว็บไซต์สะกดผิด อันนี้จะเป็น URL ที่เผลอสะกดผิดง่ายๆ เช่น amazom.com ก็จะไปสร้างเว็บหลอกไว้ (แต่สำหรับ amazom นั้น ทาง amazon ตัวจริงไปจดเอาไว้แล้วพาไปเว็บจริงให้ถูกต้อง ถือเป็นการป้องกัน phishing อีกวิธีนึง)
http://retwite.appspot.com/
http://twitter.com/

ซึ่งสองสามแบบแรกนั้นหลายๆครั้งก็จะมาในรูปแบบอีเมล มาบอกว่า User คุณไม่ได้ใช้งานนานแล้ว ให้ login เพื่อยืนยันตัวตน (แล้วก็ทำลิงค์หลอกให้เข้าไป) หรือบางทีก็บอกว่า บังคับเปลี่ยน Password ให้เข้าลิงค์นี้แล้วใส่ username/password อันเก่า เป็นต้น

eService บริการดีๆจาก AIS แต่อาจจะไม่ดีสำหรับเรา ?

 

ขอเกริ่นก่อน สำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้บริการ eService ของ AIS

 

eService เป็นบริการออนไลน์จาก AIS สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://www.ais.co.th/eservice สามารถใช้งานได้ทั้งแบบรายเดือนและเติมเงิน (แยกระบบกัน)

 

eService สามารถทำงานได้เกือบทุกอย่างที่ศูนย์ AIS จะทำได้ ตั้งแต่ เปลี่ยนโปรโมชัน ดูการใบแจ้งค่าบริการย้อนหลัง ชำระค่าบริการ ดูสถิติของการใช้งาน โหลดริงโทน (ลิงค์ไปอีกเว็บ) ถือว่าเป็นบริการที่นำสมัยมาก ถึงขนาดภูมิใจที่ได้ใช้ AIS เลยทีเดียว

 

แถมการใช้งานไม่ต้องจำรหัสผ่าน ระบบจะทำการส่ง one time password เข้ามาที่มือถือ (ผ่าน SMS)  ซึ่งมีอายุ 15 นาที และใช้งานได้ครั้งเดียว ถือว่าปลอดภัยมาก

 

 

แต่เดี๋ยวก่อน .. เช้าวันนี้ ผมเข้าใช้งาน eService เพื่อดูใบแจ้งค่าบริการอย่างที่ทำเป็นปกติ ซึ่งปกติใช้งานเสร้จผมก็ปิดหน้าจอไปเลย แต่วันนี้อะไรดลใจให้กด logout ก็ไม่ทราบ

 

สิ่งที่เจอหลังกด logout ก็คือมีหน้าแบบสำรวจการใช้บริการขึ้นมา .. ก็เป็นปกติ เป็น Feedback Control ที่ดี ถ้าไม่เหลือบไปเห็น URL ของหน้าแบบสำรวจอันนั้นก็คงไม่เห็นครับ ว่า URL หน้าแบบสำรวจอันนั้นมีทั้งชื่อจริง นามสกุลจริง เบอร์โทร และอีเมลของผมครบเลย …

และด้วยเหตุนี้ กว่า request ของเราจะไปถึง Server ก็ต้องผ่านการ Log มากมาย ซึ่งพอข้อมูลของเราทั้งหมดไปอยู่ที่ URL มันก็จะถูกเก็บ Log ไปด้วย เพียงแค่นี้ ใครๆเค้าก็เห็นชื่อจริง เบอร์โทร พร้อมอีเมลของเราง่ายๆ เพียงเพราะ AIS ต้องการสำรวจความเห็นของเราเนี่ยนะครับ !!!

นี่ยังไม่รวมถึงการทำแบบสำรวจที่เก็บข้อมูลรายละเอียดของเราโดยไม่บอกกล่าวนะคับ …

นี่คือ URL ที่ว่าครับ http://activities.ais.co.th/app/eserviceq3/gsm/index.aspx?mobile=XXX&name=YYY&email=ZZZ ซึ่ง XXX, YYY, ZZZ คืิอ เบอร์โทร ชื่อ และอีเมลผมตามลำดับ

ผมถือว่าคราวนี้ Security ของเว็บ AIS ผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัยเลยครับ

 

Google Maps Tip : อยากรู้มั๊ยแถวนี้มีอะไรบ้าง ?

 

เอ็นทรี่นี้ สั้นๆ ง่าย ..

 

ปกติเวลาเราจะหาตำแหน่งที่ไหนซักที่นึง เราก็เข้า Google Maps … ใส่คีย์เวิร์ด ปุ๊บ … กด Search ปั๊บ … ได้ผลลัพธ์ เสร็จ เย่ !!  จบ !!

 

แต่สำหรับคนว่างจัดอย่างเรา อันนั้นมันง่ายไป บางครั้งก็แค่อยากรู้ว่า แล้วแถวนั้นมันมีอะไรบ้างวะ ? แค่เนี้ย ? กรูจะ Search ยังไง ฮึ ?

 

วิธีก็สั้นๆง่ายเลย คือ เปิด Google Maps ขึ้นมา … วิ่งไปยังพื้นที่ที่เราต้องการดู (ท่าจะให้ดี ต้องกำหนดระยะซูมดีๆ ซัก 1-2 ตารางกม.)

 

หลังจากนั้นก็ใส่ ” * ” (ดอกจันทร์)  เข้าไปที่ช่องคีย์เวิร์ด … แล้วกด Search … บู๊ม กลายเป็นโกโก้ครันซ์

 

(แล้วเมิงก็นั่งดูไปเหอะครับ ดูได้เป็นวันๆ ) แค่เอาเมาส์ไปชี้จุดแดงๆ ก็จะได้รายละเอียดแล้วว่าเป็นอะไรยังไง  😉

 

ซูมแต่ละระดับจะให้ผลลัพธ์ไม่เท่ากันนะ

Google Latitude : เมื่อโดนตามตูดทุกย่างก้าว

วันนี้มีของเล่นมานำเสนออีกแล้ว … ลั่น… ลัน.. ล๊า.. หลังจากหัวหมุนกับงานใหม่เล็กน้อย 🙂


คราวนี้ขอนำเสนอ Google Latitude … บริการเสริมเล็กๆบน Google Maps ที่ทำให้เราไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของเพื่อน … หึหึ ไปขายแอมเวย์ดีกว่ามั๊ยตู


Google Latitude จะทำการแสดงตำแหน่งล่าสุดของเพื่อนให้เราได้รับรู้ และในทางกลับกันก็เปิดเผยตำแหน่งของเราให้เพื่อนเห็นด้วยเช่นกัน (ออกแนวยื่นหมูยื่นแมว) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อนคนไหนจะเห็นที่อยู่ของเราได้บ้างนั้น จะต้องทำการขออนุญาติเป็นกรณีพิเศษ … นั่นหมายความว่าคุณจะต้องอนุญาติเป็นรายบุคคลเท่านั้น ไม่ว่าเพื่อนคนนั้นจะคุย GTalk กันทุกวันหรือ Mail หากันทุกคืนก็ตามที

Latitude บนเว็บ

 

อวดซองน้อง Kindle

ไม่มีอะไรมาก หลังจากได้น้อง Kindle DX มาเมื่อเดือนก่อน เราก็เลยต้องหาเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฐานะ(ยากจน)นิดนึง เพื่อจะได้ถือไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจ เดี๋ยวมันจะถลอกปอกเปิกซะก่อน โพตส์นี้เลยมีแค่การอวดซอง Kindle ล้วนๆ ไม่มีสาระอย่างอื่นเจือปน 😛


สุดท้ายตัดสินใจเป็นตัวนี้ Case Logic Canvas Kindle DX Sleeve (Fits 9.7″ Display, Latest and 2nd Generation Kindles), Dark Green ฝากพี่ที่ที่ทำงานเก่าซื้อแล้วหิ้วกลับมา

รูปจาก Amazon :

รูปจากผม :


ค่อยๆเขมือบเครื่องเข้าไปทีละนิด


เข้าไปอยู่ได้พอดี



ปิดเรียบร้อย
”ขนาดมันพอมาก


สีของจริงจะเข้มกว่านี้ มันโดนแสงไปแล้วซีดไปเยอะ


 

ปล. ราคาประมาณ เกือบๆพัน ยังไม่รวมค่าจัดส่ง และรูปทั้งหมดถ่ายด้วย SS Galaxy S

 

Scroll to top