มัลดีฟส์ 2022

การเดินทางครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่โควิดระบาด เลยทำให้รู้ว่าการออกเดินทางนั้นน่าสนุกตื่นเต้นขนาดไหน (แถมเพิ่มความตื่นเต้นจากโควิดไปอีก)

เริ่มตั้งแต่สนามบินดอนเมือง ที่เจอว่าวันที่เราเดินทางนั้น มีเที่ยวบินขาออก(ต่างประเทศ) เพียงไม่กี่เที่ยวบิน ยังไม่นับว่าเคาเตอร์เช็คอินนั้นเปิดอยู่เพียงแถวเดียว มองผ่านๆแทบจะเหมือนว่าสนามบินไม่ได้เปิดให้บริการด้วยซ้ำ ! … ยิ่งเมื่อจนท.บอกว่าร้านอาหารข้างในปิดหมดเลยยิ่งแล้วใหญ่ แต่ในความเงียบเหงา ก็เหมือนจะมีข้อดีอยู่บ้าง คือการที่เราสามารถผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง(ขาออก)และจุดตรวจความปลอดภัยได้ภายในสิบนาที มันก็รู้สึกดีเหมือนกันนะ

สนามบินที่ดูเหมือนไม่ได้เปิดให้บริการ
จอแสดงเที่ยวบินขาออกสองจอ

ทริปมัลดีฟส์ครั้งแรกของเรานั้นมีทั้งสองแบบคือ ช่วงแรกเราไปเกาะที่เป็นรีสอร์ท (private resort island) พักที่พักกลางน้ำ บริการอย่างดี ในขณะที่ช่วงหลังเราเลือกที่จะกลับเข้าไปพักในเมืองเพื่อจะได้รู้จักว่าคนท้องถิ่นจริงๆเค้าอยู่เค้ากินกันแบบไหน

Private Resort Island

เราพักกันที่ Cocoon Maldives ที่อยู่ทางเหนือของเมืองมาเล่ (Male’) เมืองหลวงของมัลดีฟส์ โดยหลังจากลงเครื่องที่มัลดีฟส์แล้ว ต้องต่อเครื่อง Seaplane ไปอีก 30-40 นาที ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ลองนั่งเครื่องบินน้ำแบบนี้ (ถึงแม้ว่าภายในจะคล้ายๆรถตู้บ้านเราก็ตามที)

Krisp: โปรแกรมตัดเสียงรบกวนที่ทำให้ประชุมออนไลน์ง่ายขึ้น

หลังจากทำงานที่บ้านมาค่อนปี ก็พบว่าการประชุมทั้งวันโดยใส่หูฟัง (แบบ over-ear) นั้น ไม่ค่อยสบายหูเอาซะเลย

เลยเริ่มจากการประชุมโดยใช้ไมค์จากกล้องเว็บแคม และลำโพงข้างนอกก็เหมือนจะสะดวกขึ้น แต่ก็ต้องคอยระวังเรื่องเสียงรบกวน ไม่ว่าจะเป็นบ้านข้างๆต่อเติม เสียงรถกับข้าว หรือหมู่บ้านข้างๆกำลังตอกเสาเข็ม ทำให้บางทีต้องพูดหลายรอบ(ถึงจุดนี้ต้องยอมรับว่าการตัดเสียงรบกวนของ Microsoft Teams นั้นทำได้ดีกว่า Google Meets เยอะเลย)

ยังไม่นับว่าการต้องคอยปิดเปิดไมค์เวลาพูดด้วย ทำให้การสนทนาไม่ไหลลื่น หรือบางทีพูดไปตั้งนานโดยที่ไม่ได้เปิดไมค์

จนไปจบที่ลอง krisp.ai แอพที่ช่วยตัดเสียงรบกวน โดยทำตัวเองเป็น virtual microphone/speakers เราเลือกแอพต่างๆให้ใช้งานไมค์/ลำโพงผ่านทาง krisp ก็จะได้ฟีเจอร์นี้ไป

หลังจากลองแบบฟรี (ฟรี 240 นาทีต่อสัปดาห์) ก็พบว่ามันใช้ได้อยู่ เลยลองจ่ายเงินแบบ 1 เดือน (ที่แพงกว่าแบบรายปีเยอะมาก) … และสุดท้ายก็มาจบที่จ่ายรายปีในที่สุด

ตัวแอพทำอะไรได้บ้าง

  • ตัดเสียงรบกวนจากฝั่งเราเวลาเราพูด
  • ตัดเสียงรบกวนจากฝั่งคนพูดแล้วมี Noise มาหาเรา (ต้องจ่ายเงิน)
  • บันทึกเสียงเก็บไว้ (ต้องจ่ายเงิน)
  • บันทึกที่ว่าสามารถดาวโหลด/เล่นผ่านเว็บได้ (เล่นแบบ x2 ได้ด้วย)
  • มี feature ของฝั่ง video ด้วย พวกจัดการ background (แต่ยังไม่ได้ลองใช้)
  • มีการวิเคราะห์ให้ว่าเราใช้เวลากับการประชุม (รวมถึงการพูดในที่ประชุม) มากน้อยแค่ไหน
การใช้เวลาสำหรับประชุม/คุยงาน ในข่วงที่ผ่านมา

สิ่งที่คิดว่าแอพน่าจะทำได้ดีดว่านี้

  • คุณภาพของแอพ – ที่ผ่านมาเจอว่าบางแอพแฮงค์ พาลพาเอาการประชุมมีปัญหาไปด้วย
  • การกินทรัพยากรเครื่อง – บางทีเจอว่าเครื่องร้อง (เพราะต้องทำงานเยอะ)
  • ถ้าต่ออุปกรณ์ใหม่ๆเข้าไปกลางการประชุม เสียงจะวิ่งไปที่อุปกรณ์ใหม่ โดยที่ไม่ได้ผ่าน krisp – อันนี้ไม่แน่ใจว่าตัว krisp ทำอะไรได้บ้างมั๊ย
  • Mobile app – ที่เหมือนจะเคยมีและเลิกทำไปแล้ว
  • เห็น Google Meets ทำ Live caption ได้แล้ว คาดหว่างว่า krisp น่าจะทำได้ด้วย เป็น transcript ออกมา แล้วก็ทำ summarize อีกทีออกมาเป็น minute of meeting ให้เราอ่านได้เลย (เวอร์มาก !) – ถึงจุดนึงเราก็ส่ง krisp ไปเข้าประชุม (observe) แทนเราแล้วก็ส่งสรุปมาให้ !

โดยรวมถือว่าทำให้การทำงานชิลขึ้น เราสามารถนั่งเอนหลังฟังการประชุมได้ แล้วก็ไม่ต้องกังวลว่าเสียงสิ่งแวดล้อมจะกวนเวลากำลังพูด

หลังจากนี้ สิ่งที่มองหาคือ ปลาดาว ! (Conference speaker) น่าจะช่วยทำให้การคุยสะบายขึ้นอีกนิดนึง เพราะไมค์กับลำโพงอยู่ที่เดียวกัน ตอนใช้จอนอกนี่จะเจอว่าถ้าใช้ไมค์กับลำโพงจากเครื่องแมคที่วางอยู่ข้างๆนั้น เราจะเอียงตัวไปหามัน แล้วจบที่ปวดหลังทุกที

ปล. ประชุมเยอะเหมือนกันนะเนี่ย

MAC101: เมื่อ Dock ย้ายหน้าจอด้วยตัวเอง

หลังจากใช้ Mac มา 4 เดือน ปัญหานึงที่เจอบ่อยๆก็คือ อยู่ๆ Dock ด้านล่างก็ย้ายจอเอง จากหน้าจอหลักที่เป็นจอนอก ไปยังจออื่นๆ

ที่ผ่านมาก็แก้ปัญหาด้วยการถอดสายจอแล้วเสียบใหม่ (เป็นวิธีการที่บ้านมาก)

จนเมื่อวานก็ชวนสมบอยคุยเรื่องนี้ ก็เจอว่าสมบอยก็ถอดสายจอเสียบใหม่เหมือนกัน จนสมบอยไปหามาให้ว่ามันเป็น feature !!

สาเหตุของการที่ Dock ย้ายจอคือฟีเจอร์ที่ว่า

“ถ้าเราลากเมาส์จากกลางหน้าจอ ลงไปถึงขอบล่างของจอบน monitor ใดๆ Dock จะย้ายไปอยู่ที่หน้าจอนั้น !! “

วิธีการแก้ปัญหาหลังจากนี้คือ

  • ถ้ามันย้ายไป เราก็ย้ายกลับด้วยการลากเมาส์บนหน้าจอหลักของเรา
  • อีกทางแก้ที่มีคนแนะนำคือ ปิด feature “Displays have separate spaces” (System preferences > Mission Control) ซึ่งส่วนตัวคิดว่ามีผลกระทบมากกว่าแค่การย้าย Dock เลยยังไม่ได้ลอง

บางทีก็งงนะว่าฟีเจอร์แบบนี้มีไปทำไมกัน !

ปล. บางทีก็งงกับคำในภาษาไทย ระหว่างหน้าจอ (Logical screen) กับ จอ (Monitor) เหมือนกันเนอะ

Ref:

Life in 2021

สิบปีแล้ว กับการเขียนสรุปเรื่องราวในแต่ละปีที่ผ่านมา ภูมิใจเล็กๆที่ทำอะไรระยะยาวมากขึ้นได้ … ถึงแม้ว่าจะเขียนบล็อกน้อยลงไปมากก็ตาม

ปล. (ยังไม่ทันจะเริ่มเลย) บล็อกมี dark mode แล้ว กดตรงพระจันทร์ที่ลอยๆอยู่มุมซ้ายล่างได้เลย

ปีนี้นับว่าเป็นปีที่เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งรูปแบบการดำเนินชีวิตจาก covid ที่อยู่เป็นปีที่สอง รวมถึงช่วงชีวิต (stage of life) ที่ถึงจุดเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือครอบครัว

📖 ก่อนจะไปเริ่มที่เรื่องราวในปีที่ผ่านมา ปีนี้ขอเริ่มด้วยหนังสือที่อ่านค้างอยู่ “Life Is in the Transitions: Mastering Change at Any Age” ว่าด้วยเรื่องของชีวิตคนเราที่จะต้องผ่านจุดพลิกผันในชีวิต ทั้งด้านดีและไม่ดี ทั้งจากเรื่องง่ายๆ อย่างเรียนจบ เปลี่ยนหน้าที่การงาน จนไปถึงเรื่องยากๆอย่างเจอโรคร้าย หรือชีวิตพลิกผลันด้วยเหตุการณ์ต่างๆ …

ตอนนี้ยังอ่านไม่จบหรอก แต่คิดว่าเป็นการดีที่เราได้เรียนรู้ผ่านเรื่องของคนอื่นว่าชีวิตคนเรามันเป็น non-linear และอะไรก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้เขียนเล่าว่าโดยเฉลี่ยในชีวิตคนเรานั้น จะมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนจุดเปลี่ยนในชีวิตเกิดขึ้นทุกๆ 12-18 เดือน น่าสนใจว่าเราจะรับมือกับมันกันยังไง หลายๆคนก็เจอจุดสมดุลของชีวิตเพราะจุดเปลี่ยนเหล่านี้ พอย้อนกลับมาดูตัวเองในปีนี้ ก็เจอว่ามีหลายอย่างเลยเกิดขึ้นพร้อมๆกันในปีนี้

สลับภาษาคีย์บอร์ดบน Windows ด้วย Caps Lock

เรื่องที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดก็เกิดขึ้นแล้ว … ก็คือตอนนี้ย้ายมาทำงานที่ใหม่ที่ต้องใช้ Mac เป็นหลัก

ทุกอย่างก็ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะส่วนใหญ่แล้วเราก็ใช้ Web based application กันหมดแล้ว (เค้ายังใช้คำนี้กันมั๊ยนะ) … ตัวแอพอื่นๆบนเครื่องก็ไม่ได้มีปัญหามากนัก เดี๋ยวจะทยอยมาเล่าเรื่องแอพที่ใช้บนแมค จากคนที่ข้ามมาจาก Windows / Surface อีกทีนึง (อีกทีตลอดๆ)

อ่ะ กลับมาเข้าเรื่อง

ปัญหาที่เจอกับตัวเองคือ บน Windows นั้น ทุกวันนี้ใช้ Alt + Shift ในการเปลี่ยนภาษา ด้วยเหตุผลหลักๆสองข้อคือ

  1. มันเป็นค่าเริ่มต้น ไปจับ Windows ไหนๆ เปลี่ยนภาษาด้วยวิธีนี้ก็น่าจะเวิร์ค (ไม่ก็ใช้ Win + Space bar แต่รู้สึกว่านิ้วพันกัน)
  2. ตัว Grave Accent ( ` ) ที่เรานิยมใช้ในสมัยก่อนนั้น ทุกวันนี้เราใช้ตัวนี้มากขึ้นมาก ในการเขียน blog/wiki ด้วยภาษา markdown

ปัญหาก็เลยเกิด เมื่อ Alt + Shift จาก Windows ไปเจอกับปุ่มเปลี่ยนภาษาบน Mac ที่ใช้ Caps Lock

ความจำกัดบน Windows คือ Windows นั้น (แม้จะเป็น Windows 11 แล้วก็ตาม) ให้เลือกปุ่มเปลี่ยนภาษาได้จำกัดมาก เลยต้องหาทางแก้ด้วยทางอื่น เมื่อตัว OS ทำไม่ได้

Scroll to top