เครื่องมือสำหรับตัดต่อวิดีโออย่างง่ายบน Windows ฉบับของฟรี

เพิ่งจะกลับมาจากไปเที่ยว แล้วทำวิดีโอสั้นๆไว้อวดเพื่อน … พบว่าทุกวันนี้เครื่องมือบน Windows นั้นสามารถตัดต่อวิดีโออย่างง่ายใส่เพลงได้แบบสบายๆเลย มาลองดูกันว่าใช้อะไรทำบ้าง

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ: Video Editor

อันนี้ติดมากับ Windows 10 เลย ไม่แน่ใจว่ามาใน Version ไหน แต่ง่ายเพียงพอที่จะลากวางๆ สามรถ trim, split, ปรับความเร็ว, ใส่ตัวอักษร, ใส่เพลง แล้ว export แบบ 1080 สบายๆ ไม่มีลายน้ำให้กวนใจ

กด start พิมพ์ Video Editor ก็เริ่มใช้งานได้เลย

โปรแกรมเลือกไฟล์: Photos

อันนี้ก็ติดมากับเครื่องอีกนั่นแหล่ะ ข้อดีของตัวนี้คือ มันดูรูปจากหลายๆ sub folder พร้อมๆกันได้ สมมติเรามีกล้อง 2 อัน มีโดรน มีอันที่ก็อบมาจากคนอื่น เอามาดูด้วยโปรแกรมนี้อันเดียวเรียงตามวันเวลาที่ถ่าย จะช่วยให้เลือกรูปหรือวิดีโอได้ง่ายขึ้น

ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าโปรแกรม Video editor กับ Photos มันเหมือนจะเป็นตัวเดียวกัน มีปุ่มบนซ้ายให้เข้าจากกันและกันได้

โปรแกรมช่วยแก้วิดีโอสั่น: Microsoft Hyperlapse Pro

อันนี้ต้องไปดาวโหลดเพิ่ม เหมือนจะเลิกพัฒนาต่อแล้วด้วยมั้ง แต่ยังใช้งานได้ดีอยู่ เป็นโปรแกรมช่วยทำ Hyperlapse จากวิดีโอธรรมดา หรือจะเอา Hyperlapse วิดีโอเข้าไปก็ได้ ช่วยทำให้มันสมูทขึ้น ดูแล้วไม่ค่อยอ๊วกเท่าไหร่

ปล. มีคนแจกคีย์ของเวอร์ชันโปรด้วย search หาเอา ง่ายมาก เข้าใจว่าเค้าเลิกขายแล้ว จะซื้อก็ไม่มีที่ให้ซื้อ !

ดาวโหลดได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=52379

ข้างล่างนี้แถม …

โปรแกรมทำภาพ Panorama 360: Microsoft Image Composite Editor (ICE)

อันนี้ใช้มานานแล้ว ใช้สมัยซื้อโดรนมาใหม่ๆ เพราะรูป 360 ของโปรแกรมที่มากับโดรนจะโดนย่อ ถ้าอยากได้ความละเอียดเต็มๆต้องเอามาทำเอง

พอเอาเข้าโปรแกรมนี้แล้วเอาไปปรับแต่งขนาด (ให้เป็น 2:1) กับเพิ่มค่า Exif นิดหน่อยให้เฟซบุครู้จัก ก็สามารถโพสรูป 360 แบบเต็มความละเอียดขึ้นเฟซบุคได้แล้ว ไว้เล่าขั้นตอนละเอียดๆอีกทีนะ

ตัวโปรแกรมยังรองรับการทำ Panorama แบบต่างๆ มีฟีเจอร์ช่วยเติมเต็มตำแหน่งแหว่งๆด้วย ถือว่าเป็นโปรแกรมที่ควรมีติดเครื่องไว้เลย

ดาวโหลดได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/research/product/computational-photography-applications/image-composite-editor/

Android Review : WiFi Analyzer

ต่อจาก วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S ในคราวนี้แล้วก็มาต่อกันที่โปรแกรมแรกบน Android ที่จะพูดถึง…


มันคือโปรแกรม Wifi Analyzer

เรื่องของเรื่องคือ ไปช่วยติดตั้ง Access Point ที่นึง ซึ่งปรากฏว่าทำยังง๊ายย ก็ดูเหมือนจะช้า ต่อแล้วติดๆหลุดๆ ซึ่งก็ได้ตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า อาจจะใช้ความถี่เดียวกับ Access Point อื่นแน่เลย @poom3d เลยแนะนำให้ลองใช้โปรแกรมนี้ดู ผลปรากฏว่ามันช่วยได้จริงๆด้วย โชว์กันเห็นๆเลย ว่า Channel ที่เราใช้ต่อ WiFi นั้นซ้ำกับ Access Point ของคนอื่น ผล(ที่เดาได้)ก็คือ Package คงวิ่งชนกันวุ่นวาน และเมื่อเปลี่ยน Channel ก็ทำให้ความเสถียรบังเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


Channel และ Signal Strength ของแต่ละ Access Point


มาดูกันว่ามันทำอะไรได้

  • แสดง Channel และ ความแรงของสัญญาณ ของ Access Point บริเวณนั้น (ตามรูปภาพด้านบน
  • อันถัดมานี่หล่อมาก ออกแนวเดียวกับเครื่องวัดรังสี(อำมหิต)เลย เป็นหน้าจอแสดงความเข้มของสัญญาณ ซึ่งจะแสดงเป็นหน้าปัดแบบเข็ม คลาสสิคมากๆ แถมเปิดเสียงได้ด้วย จะมีเสีย ติ๊ด… ติ๊ด .. และจะดังถี่ขึ้นเมื่อสัญญาณแรงขึ้น .. ติ๊ด ๆๆๆๆๆๆๆ

  • อันถัดมาเป็นหน้าจอสำหรับดูความแรงของสัญญาณเทียบกับเวลา แยกแต่ละ Access Point (อ่านแล้วงงล่ะสิ ไปดูรูปดีกว่า)

  • อีกหน้าจอเป็น รายละเอีดของแต่ละ Access Point รอบข้าง เช่น Mac Address , Channel, Signal Strength, Encryption เป็นต้น

  • สามารถทำ Snap Shot ออกมาเป็นไฟล์ .csv ได้ด้วย สามารถมาเปิดดูย้อนหลังได้
  • ส่วนสุดท้ายเป็น การ Settings ต่างๆ มีให้ตั้งเยอะแยกมากมาย ลองมาดูกัน

  • ปล. มีให้ติ๊ก Hide Ad ด้วย ซึ่งจะ Hide ไป อาทิตย์นึง ถ้าจะ Hide ใหม่ต้องมาติ๊กอีกที
  • ดาวโหลดได้จาก Market โดยตรงหรือเว็บไซต์ผู้พัฒนา http://sites.google.com/site/farproc/wifi-analyzer

วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S

อุปสรรคที่ยังไม่ได้เขียน Review ใดๆของเจ้า Galaxy S ออกมาเลย นอกจากความขี้เกียจแล้วก็มีอีกอันคือ



*** ขออัพเดท ***

ถ้าตอนนี้อุปกรณ์ของคุณคือ Android 2.2 บน Galaxy S (ไม่แน่ใจว่ารุ่นอื่นทำได้มั๊ย) คุณสามารถ Capture หน้าจอได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม Back ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Home (ปุ่มตรงกลาง) น้อง Android ก็จะเซฟภาพหน้าจอให้ท่านเรียบร้อย ไปเปิดดูใน Gallery ได้เลยคร่าบ 🙂

ไม่ต้องลง App ไม่ต้อง Root ^^

ส่วนถ้าไม่ได้ ก็ยังคงทำตามวิธีด้านล่างได้เหมือนเดิมคับ ^^



การจับภาพหน้าจอ (Screen Capture) ของเจ้า Galaxy S นั้นยากกว่าที่คิด

ซึ่งจริงๆแล้วใน Android Market นั้นมีโปรแกรมจับภาพหน้าจอตั้งมากมาย แต่โปรแกรมทั้งหมดนั้นต้องทำการ Root ก่อนใช้งาน …

ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ แค่เหตุผลการจับภาพหน้าจอเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการ Root น้อง S ของเราเลย

หลังจากหาๆวิธีการ ก็เจอวิธีที่สามารถทำได้ … นั่นก็คือจับภาพผ่าน AndroidSDK


วิธีการก็ไม่ยุ่งยาก แต่การ Capture โดยไม่ต้อง Root นั้น ณ ตอนนี้ต้องทำจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น วิธีการก็มาดูกันเลย

  • ขั้นตอนติดตั้งก็ไม่ยุ่งยาก Extract > แล้วก็ รันตัว SDK Setup
  • เมื่อ Setup บนคอมเสร็จแล้ว ก็มาที่ตัวมือถือกันบ้าง
  • ทำการ Enable USB Debugging โดยไปที่ Settings > Applications > Development > ติ๊กถูกหลัง USB Debugging

  • เสียบ USB เข้ากับคอมของเรา (หมายถึงเสียบให้คอมเชื่อมกับมือถืออะนะ)
  • เปิดโปรแกรม  ddms.bat โดยไฟล์โปรแกรมจะอยู่ใน Folder tools ใต้ Folder AndroidSDK ที่เราลงไว้
  • ถ้าการเชื่อมต่อปกติ จะมีลักษณะดังรูป

  • เลือกเมนู Device > Screen Capture
  • เป็นอันเสร็จสิ้น เราจะได้รูปหน้าจอขณะนั้นบนมือถือของเราทันที
  • ตัวอย่าง…  เป็นหน้าจอของโปรแกรม Wifi Analyzer เดี๋ยวคราวหน้าจะมาบอกว่ามันทำอะไรได้บ้าง


Scroll to top