DLNA คืออะไร ?

หลังจากที่โม้ไว้หลายครั้งล่ะว่าอุปกรณ์ชิ้นโน้นชิ้นนี้รองรับ เจ้า DLNA ด้วย แต่ก็ไม่เคยเล่าซักทีว่า DLNA ที่ว่ามันคืออะไร ?

คราวนี้เราจะมาดูกันว่ามันคืออะไร ? มีอนาคตยังไง ? ช่วยอะไรเราได้บ้าง ?


DLNA คืออะไร ?

ว่าด้วยเรื่องทฤษฎี DLNA ย่อมาจาก Digital Living Network Alliance  … ถ้าจะให้แปลตามตัวก็คือ เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตอุกปรณ์ต่างๆเพื่อสร้างห้องนั่งเล่นที่สมบูรณ์แบบ (แปลได้เหียกมากเลยกรู)

หรืออีกนัยยะนึง มันก็คือมาตรฐานอันนึงที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนที่รองรับ DLNA นั้น จะเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดายนั่นเอง ข้างล่างเป็นภาพที่ DLNA อยากให้เป็น

 



แล้วไอกลุ่มที่ว่า(สนับสนุน)มีใครบ้าง ?

เอาเฉพาะที่ผมคัดเลือกมาละกัน … เห็นได้ชัดเป็นเป็น Samsung เพราะพี่แกใส่มาในแทบจะทุก Device ที่เป็นไปได้ คนอื่นๆก็มี Cisco,  LG, Intel, Huaweii,  Sony, Toshiba, Pioneer, Ericsson,  HP, HTC Nokia, Moto .. พอล่ะ


แล้วมันทำอะไรได้บ้าง ?

จากที่ลองเล่นมา อุปกรณ์ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว

ซึ่งที่เท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน

ข้างบนเป็นการเล่าแบบบ้านๆ แต่ถ้ามาดูตามทฤษฏีเนี่ย เค้าบอกว่า DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ

  • Digital media servers (DMS)
  • Digital media players (DMP)
  • Digital media controllers (DMC)
  • Digital media renderers (DMR)


เล่นไฟล์ประเภทได้บ้าง

จากที่เห็นก็จะมีการแบ่งประเภทเป็น ไฟล์เพลง ไฟล์หนัง ไฟล์รูปถ่าย ไฟล์ Video ที่อัดมากจาก TV เป็นต้น


อยากลองใช้ต้องทำไง ?

ตอนนี้ Windows Media Player 11 บน Windows 7 รองรับมาตรฐานนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถเล่นเพลงจากอุปกรณ์อื่นๆได้ หรือสามารถ Share เพลงให้อุปกรณ์อื่นๆที่รองรับ DLNA เล่นได้เช่นกัน


Samsung Galaxy S with DLNA


ส่วนใครที่เป็นเจ้าของ Samsung Galaxy S แล้วล่ะก็ มีข่าวดีคือคุณสาสามารถใช้ DLNA ผ่านโปรแกรมที่ติดตั้งมาอยู่แล้ว ชื่อ “All Share” ซึ่งถ้ามีโอกาสจะมาทำให้ดูเป็นตัวอย่างกันครับ

และอีกอุปกรณ์ที่รองรับ DLNA ที่ผมใช้อยู่ก็คือ เจ้า Buffalo LinkStationDuo ซึ่งรองรับ DLNA ผ่าน Service ที่ชื่อ Media Server ซึ่งต้องไป Enable Service ในหน้า Management ก่อน และกำหนด Folder ที่ให้ Media Server เข้าถึงได้ เท่านี้ อุปกรณ์อื่นๆก็เล่นไฟล์จากเจ้า NAS ของเราได้แล้ว


Samsung LCD TV with DLNA


อีกชิ้นนึงที่ผมมองๆอยู่ ก็คือ Samsung LCD/LED TV Series 7 ขึ้นไป ที่รองรับ DLNA ด้วย ทำให้สามารถ Browse ไฟล์หนังจากเจ้า NAS มาเล่นได้เลยโดยไม่ต้อง Write แผ่นให้โลกร้อน และเจ้าตัวนี้ยังสามารถเล่น Web บางอันได้ในตัวเองเลย เช่น Youtube และ Streaming บางเว็บ เจ๋งมั๊ยล่ะ

มาดูโครงสร้างพื้นฐานไอทีบ้านผมกัน

ขณะที่เขียนเอ็นทรี่นี้ มีเหงื่อไหลซิกๆพร้อมกับมีเสียง ติ๊ด ….. ติ๊ด …. ดังอยู่เป็นระยะๆ ถ้าจะให้ทายก็คงทายกันไม่ถูกหรอก ขอเฉลยเลยละกัน ว่ามันคือเสียงของ PUS เอ้ย PSU … เฮ่ย ยางงง UPS ตะหาก .. (ขำไม๊เนี่ย ยิ่งร้อนๆอยู่)

 

ใช่แล้วคับ ขณะนี้ บ้านผมไฟดับ … (จะหาว่าโรคจิตก็ยอมรับล่ะคับ ไฟดับแล้วมานั่งเขียนบล็อกเนี่ย)

 

ที่อยากเขียนเรื่องนี้ก็คงเป็นเพราะว่า เป็นความภูมิใจของความโรคจิตอีกทีนึง ที่ทำให้บ้านตัวเองเล่นเน็ตได้แม้กระทั่งไฟดับ … 😛

 

เลยลองเขียนออกมาดู … ว่าเรามีอุปกรณ์อะไรบ้าง ต่อพ่วงกันอย่างไร เผื่อจะเป็นแนวทางแก่เพื่อนๆพ่อแม่พี่น้องท่านอื่นๆในการวางอุปกรณ์กัน … มาดูรูปกันครับ

 

จะเห็นว่าผมใส่ DLNA เข้าไปด้วย ว่าอุปกรณ์ตัวไหนรองรับเจ้า Protocol ที่ว่านี่บ้าง … เดี๋ยวไว้วันไหนมีโอกาสจะลองรีวิวให้ดูครับ ว่า DLNA มันคืออะไรแล้วมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ^^

 

ปล. ถือโอกาสแนะนำ Web 2.0 อันนึงคือ www.gliffy.com ครับ เป็นเว็บสำหรับสร้าง Diagram แบบ Online มีหลายอย่างให้เลือกทั้ง UML , Network, ER Diagram, Flow chart … etc. ลองใช้กันดูได้คร่าบบ

ปล2. ตอน Publish นี่ไฟมาแล้วนะครับ 🙂

Scroll to top