Shipito : บริการตู้ไปรษณีย์ส่วนตัวในต่างแดน

เนื่องมาจากได้รับคำสั่งให้สั่งซื้อของบางอย่างจาก Amazon แต่ว่าบางอย่างที่ว่านั้น ไม่มีบริการส่งออกนอก US (หรือไม่ก็มี..แต่ไม่อยากใช้)

… สิ่งที่เราทำได้นอกจากการบินไปซื้อเอง … ฝากเพื่อนซื้อ … ซื้อแล้วส่งให้เพื่อนหิ้วกลับมา


ก็มีอันนี้แหล่ะ Shipito.com ซึ่งได้รับการแนะนำโดย @Pakkardkaw (ก็ที่เป็นคนเีดียวกับคนที่สั่งให้ซื้อนั่นแหล่ะ)


บริการ Shipito.com คืออะไร ?

Shipito เป็นการสร้างที่อยู่ปลอมๆของเราใน US ซึ่งเมื่อเราสมัคร เราจะได้ที่อยู่มาอันนึงเป็นชื่อเรา ซึ่งสถานที่จริงๆก็คือ Warehouse ของ Shipito ตอนนี้ (23/10/2553) ค่าสมัครอยู่ที่ 8.5 $ ซึ่งก็จะนำมาเป็นเงินในบัญชีของเราต่อไป


เมื่อเราซื้อของ เราก็ให้ส่งไปยังที่อยู่ดังกล่าว …


และเมื่อของมาถึง Shipito เจ้า Shipito ก็จะเมลมาบอกรายละเอียดเรา ว่าของที่ได้รับมีหน้าตาอย่างไร (มีรูปด้วย) ขนาดเท่าไหร่ พร้อมกับประเมินราคาให้เสร็จสรรพ ว่าถ้าจะส่งมาให้เราที่บ้านเนี่ยจะเสียดังเท่าไหร่ …  (นั่นแปลว่าเราต้องหาข้อมูลเรื่องราคาการส่งของระหว่างประเทศไว้บ้าง !! ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะไม่มีปัญญาเอาของออกจาก Shipito – -“)

ก่อนที่ Shipito จะส่งของออกมาให้เรา จะมีขึ้นตอนอีกสองสามอันคือ

1. เราต้องเข้าไป Declare ของที่จะส่งมาที่บ้าน ว่าเป็นอะไร เพื่อใช้ในการคำนวณภาษีของทางศุลกากร ว่าของที่ส่งนั้นเป็นอะไร เสียภาษีหรือไม่อย่างไร

2. เลือกวิธีที่จะจัดส่ง ว่าส่งโดยผู้ให้บริการรายไหน (มีหลายเจ้า หลายราคา)

3. ดูเรื่องที่อยู่ที่จะให้ส่งไปที่ไหน.. แต่โดยปกติเราจะกรอกที่อยู่ของบ้านเราไว้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ส่งไปให้คนอื่นก็ไม่ต้องแก้ไขในส่วนนี้

4. จ่ายตังค์ค่าส่งกลับบ้าน .. อย่างที่บอกไว้ตอนแรก ว่าเรามีค่าสมัคร 8.50 $ ไว้ในตอนแรกอยู่แล้วด้วย ค่าส่งที่เราต้องจ่ายเพิ่มก็หักส่วนนี้ออกไปด้วย (ในครั้งแรก)


สุดท้ายก็รอของมาถึงบ้าน โดยอาจจะต้องมีไปเสียภาษีบ้างตามเวลาและโอกาส แล้วระหว่างนั้นก็เอา ID ของการส่งที่ได้จาก Shipito มา Track ดูได้ว่าของถึงไหนแล้ว


ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ตอนนี้ Warehouse ของ Shipito มีอยู่หลายที่ ใน US มีใน 4 รัฐ แล้วก็เห็นแว๊บๆว่ามีในญี่ปุ่นด้วย … เป็นไปได้ว่าต่อไปอาจจะสั่งของจากที่อื่นได้ง่ายขึ้น สั่งไปส่ง Shipito ก่อน.. แล้วค่อยว่ากัน ประมาณนั้น
  • การจ่ายตังค์มีทั้ง Paypal และบัตรเครดิต


ปล. เพิ่งใช้ครั้งแรก ใครมีทริคเด็ดๆก็บอกกันมั่ง

ปล2. ช่วงนี้บาทแข็ง … จะซื้ออะไรก็รีบซื้อ 🙂


Android Tip : Brightness control in one touch

ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าไม่แน่ใจว่าเทคนิคนี้จะใช้กับ Android ทุกเครื่องรึป่าว แต่ที่ใช้ได้แน่ๆคือ Galaxy S และคิดว่า Android จาก Samsung ทั้งหมดก็น่าจะใช้ได้

การปรับความสว่างของหน้าจอเนี่ยทำได้หลายวิธีเลยครับ เช่น

การเข้าไปปรับในส่วนของ Sound and display ใน Settings หรือว่าจะเป็น การใช้ Power widget ในหน้า Home

แต่ที่ผมจะแนะนำวันนี้ คือ การรูดในส่วนของ Notification Bar ครับ (ใช้คำว่ารูดแล้วมันฟังดูแหม่งๆดี ชอบ อิอิ)  เอ้า.. ลองไปดูกัน

ปกติเวลาเราจะเปิด Notification Bar เนี่ย เราจะลากจากขอบจอด้านบนลงมาใช่มั๊ยครับ
ซึ่งตรงนี้แหล่ะ เมื่อเรากดไปตรงขอบจอด้านบน ปลายของหน้า Notification จะแหล่มออกมา

ตรงนี้เลยครับ ถ้าเราลากนิ้วของเราไปทางขวาจะทำให้จอสว่างขึ้น … ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราลากนิ้วไปทางซ้ายหน้าจอก็จะมืดลงครับ วิธีนี้จะสะดวกตรงที่เราไม่ต้องออกมาหน้า Home หรือเข้าหน้า Settings เลย อยากให้สว่างตอนในก็ลากขวา ให้มืดก็ลากซ้าย …. จบ !!

ลาก่อนครับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในชีวิตของผม…

หลังจากจบม.ปลาย สอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาลัย… จนถึงรับปริญญา มาถึงวันนี้การทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์ครบ 3 ปีกว่าๆ ก็เป็นอันสิ้นสุดลง …

แน่นอนว่าระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีอะไรให้คิดเยอะแยะมากมาย เช่น


ที่ทำงานใหม่จะเป็นอย่างไรบ้าง ?

ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆพี่ๆในทีม จะยังรู้สึกดีต่อกันใช่มั๊ย ?

แล้วที่ใหม่ล่ะ เพื่อนๆพี่ๆร่วมงานเราเค้าจะยินดีต้อนรับเราใช่มั๊ย ?

ต่อไปต้องเดินทางไกลขึ้น จะเหนื่อยมั๊ยนะ ?

จะลาออก เราต้องทำเรื่องยังไง ? แล้วจะบอกพี่ๆเพื่อนๆว่ายังไง

ถ้ามีใครซักคนอยากให้อยู่ต่อ .. เราจะตอบเค้าอย่างไร ?

เราคิดดีแล้วใช่มั๊ย ?

ยังมีงานอะไรค้างคาอยู่รึป่าว ?

ถ่ายทอดงานล่ะ ? ต้องทำยังไง ?


ทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นคำถามที่วนไปเวียนมา บ้างก็หาคำตอบได้ บ้างก็หาคำตอบไม่ได้ … แต่หลายๆครั้งก็ได้กำลังใจจากคนรอบข้าง ช่วยให้เราผ่านความคิดอันวนเวียนออกมาได้

หรือว่า… นี่คืออีกก้าวหนึ่ง ของการเป็น “ผู้ใหญ่”


ข่างล่างนี้เป็นอีเมลที่ผมส่งเพื่อลาพี่ๆใน SET ขอเก็บไว้ตรงนี้เป็นอีกความทรงจำนึงที่สวยงาม



หลังจากเวลา 3 ปีกว่าๆผ่านไป…. วันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายที่ผมจะมาทำงานที่นี่แล้ว ผมจึงถือโอกาสนี้บอกลาพี่ๆเพื่อนๆทุกคนครับ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาพี่ๆเพื่อนๆที่นี่ล้วนดีกับผมมากมาย…  มากจนผมรู้สึกเสียใจที่ต้องเดินจากบ้านหลังนี้ไป…

ผมอยากจะ”ขอขอบคุณ”เพื่อนๆพี่ๆทุกคน ที่คอยสอนสั่งสิ่งๆต่างๆตลอดมา หลายๆครั้งผมทำผิด หลายๆครั้งผมใจร้อน ก็ได้พี่ๆคอยช่วยแนะนำ ซึ่งทำให้ผมได้เรียนรู้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จากจุดเริ่มต้นเป็นเด็กจบใหม่ที่ไม่ค่อยรู้อะไรมากมาย ค่อยๆได้รับประสบการณ์ทำงาน ได้รับความใจดีเอิ้อเฟิ้อจากพี่ๆเพื่อนๆ ได้รับการให้อภัย… ขอขอบคุณมากครับ ผมพูดได้เต็มปากว่าผมภูมิใจที่ได้มาทำงานที่นี่ มาอยู่ทีมๆนี้ ที่มีพี่ๆเพื่อนๆทุกคนครับ

อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ ผมขอกล่าวคำว่า”ขออภัย”กับเพื่อนๆพี่ทุกคนครับ ผมเชื่อว่าหลายๆครั้งผมคงทำให้พี่ขุ่นเคืองหมองใจ ทั้งจากการทำงานและหลายๆครั้งการพูดเล่นของผมซึ่งเหมือนว่าจะเป็นการไม่เคารพพี่ๆ บางครั้งผมยังแกล้งพี่ๆด้วยซ้ำไป แต่ทั้งหมดผมทำไปด้วยความรักและแค่เพียงเพื่อให้เกิดความเฮฮาสนุกสนานเท่านั้น ส่วนพี่ๆ User ก็มีหลายๆครั้งที่ผมช่วยเหลือพี่ๆไม่ได้อย่างที่ควรจะเป็น หรือทำงานผิดพลาดไปบ้าง ก็ต้องขออภัยพี่ๆมา ณ ที่นี้ด้วยครับ พี่ๆ System ก็เช่นกันต้องขออภัยในหลายๆครั้งที่ผมอาจจะกดดันหรือมีบ้างที่เราโต้เถียงกัน แต่ขอให้รู้เถอะครับว่าทั้งหมดนั้นผมทำไปเพราะอยากให้ทุกอย่างออกมาดีที่สุด ขออภัยด้วยนะครับ

สุดท้ายผมขอขอบคุณในมิตรภาพดีๆที่ทุกคนมีให้ผม ผมเชื่อว่าสิ่งดีๆเหล่านี้จะทำให้ผมจำอยู่ในใจไว้เสมอครับ และขอให้เพื่อนๆพี่ๆมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขในทุกๆวัน และหวังว่าเราจะมีโอกาสพบเจอกันในวันข้างหน้าครับ


ขอบคุณมากๆครับ

แก้ว



Android Review : WiFi Analyzer

ต่อจาก วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S ในคราวนี้แล้วก็มาต่อกันที่โปรแกรมแรกบน Android ที่จะพูดถึง…


มันคือโปรแกรม Wifi Analyzer

เรื่องของเรื่องคือ ไปช่วยติดตั้ง Access Point ที่นึง ซึ่งปรากฏว่าทำยังง๊ายย ก็ดูเหมือนจะช้า ต่อแล้วติดๆหลุดๆ ซึ่งก็ได้ตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า อาจจะใช้ความถี่เดียวกับ Access Point อื่นแน่เลย @poom3d เลยแนะนำให้ลองใช้โปรแกรมนี้ดู ผลปรากฏว่ามันช่วยได้จริงๆด้วย โชว์กันเห็นๆเลย ว่า Channel ที่เราใช้ต่อ WiFi นั้นซ้ำกับ Access Point ของคนอื่น ผล(ที่เดาได้)ก็คือ Package คงวิ่งชนกันวุ่นวาน และเมื่อเปลี่ยน Channel ก็ทำให้ความเสถียรบังเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


Channel และ Signal Strength ของแต่ละ Access Point


มาดูกันว่ามันทำอะไรได้

  • แสดง Channel และ ความแรงของสัญญาณ ของ Access Point บริเวณนั้น (ตามรูปภาพด้านบน
  • อันถัดมานี่หล่อมาก ออกแนวเดียวกับเครื่องวัดรังสี(อำมหิต)เลย เป็นหน้าจอแสดงความเข้มของสัญญาณ ซึ่งจะแสดงเป็นหน้าปัดแบบเข็ม คลาสสิคมากๆ แถมเปิดเสียงได้ด้วย จะมีเสีย ติ๊ด… ติ๊ด .. และจะดังถี่ขึ้นเมื่อสัญญาณแรงขึ้น .. ติ๊ด ๆๆๆๆๆๆๆ

  • อันถัดมาเป็นหน้าจอสำหรับดูความแรงของสัญญาณเทียบกับเวลา แยกแต่ละ Access Point (อ่านแล้วงงล่ะสิ ไปดูรูปดีกว่า)

  • อีกหน้าจอเป็น รายละเอีดของแต่ละ Access Point รอบข้าง เช่น Mac Address , Channel, Signal Strength, Encryption เป็นต้น

  • สามารถทำ Snap Shot ออกมาเป็นไฟล์ .csv ได้ด้วย สามารถมาเปิดดูย้อนหลังได้
  • ส่วนสุดท้ายเป็น การ Settings ต่างๆ มีให้ตั้งเยอะแยกมากมาย ลองมาดูกัน

  • ปล. มีให้ติ๊ก Hide Ad ด้วย ซึ่งจะ Hide ไป อาทิตย์นึง ถ้าจะ Hide ใหม่ต้องมาติ๊กอีกที
  • ดาวโหลดได้จาก Market โดยตรงหรือเว็บไซต์ผู้พัฒนา http://sites.google.com/site/farproc/wifi-analyzer

วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S

อุปสรรคที่ยังไม่ได้เขียน Review ใดๆของเจ้า Galaxy S ออกมาเลย นอกจากความขี้เกียจแล้วก็มีอีกอันคือ



*** ขออัพเดท ***

ถ้าตอนนี้อุปกรณ์ของคุณคือ Android 2.2 บน Galaxy S (ไม่แน่ใจว่ารุ่นอื่นทำได้มั๊ย) คุณสามารถ Capture หน้าจอได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม Back ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Home (ปุ่มตรงกลาง) น้อง Android ก็จะเซฟภาพหน้าจอให้ท่านเรียบร้อย ไปเปิดดูใน Gallery ได้เลยคร่าบ 🙂

ไม่ต้องลง App ไม่ต้อง Root ^^

ส่วนถ้าไม่ได้ ก็ยังคงทำตามวิธีด้านล่างได้เหมือนเดิมคับ ^^



การจับภาพหน้าจอ (Screen Capture) ของเจ้า Galaxy S นั้นยากกว่าที่คิด

ซึ่งจริงๆแล้วใน Android Market นั้นมีโปรแกรมจับภาพหน้าจอตั้งมากมาย แต่โปรแกรมทั้งหมดนั้นต้องทำการ Root ก่อนใช้งาน …

ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ แค่เหตุผลการจับภาพหน้าจอเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการ Root น้อง S ของเราเลย

หลังจากหาๆวิธีการ ก็เจอวิธีที่สามารถทำได้ … นั่นก็คือจับภาพผ่าน AndroidSDK


วิธีการก็ไม่ยุ่งยาก แต่การ Capture โดยไม่ต้อง Root นั้น ณ ตอนนี้ต้องทำจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น วิธีการก็มาดูกันเลย

  • ขั้นตอนติดตั้งก็ไม่ยุ่งยาก Extract > แล้วก็ รันตัว SDK Setup
  • เมื่อ Setup บนคอมเสร็จแล้ว ก็มาที่ตัวมือถือกันบ้าง
  • ทำการ Enable USB Debugging โดยไปที่ Settings > Applications > Development > ติ๊กถูกหลัง USB Debugging

  • เสียบ USB เข้ากับคอมของเรา (หมายถึงเสียบให้คอมเชื่อมกับมือถืออะนะ)
  • เปิดโปรแกรม  ddms.bat โดยไฟล์โปรแกรมจะอยู่ใน Folder tools ใต้ Folder AndroidSDK ที่เราลงไว้
  • ถ้าการเชื่อมต่อปกติ จะมีลักษณะดังรูป

  • เลือกเมนู Device > Screen Capture
  • เป็นอันเสร็จสิ้น เราจะได้รูปหน้าจอขณะนั้นบนมือถือของเราทันที
  • ตัวอย่าง…  เป็นหน้าจอของโปรแกรม Wifi Analyzer เดี๋ยวคราวหน้าจะมาบอกว่ามันทำอะไรได้บ้าง


Scroll to top