Security Risk : ใครใช้ Router ที่แถมมากับ ISP โปรดอ่าน

ถ้าใครอ่านข่าว IT อยู่บ้างจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมามีข่าวเรื่องผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในไทยโดยแฮค Router เพื่อแก้ไข DNS (ข่าวจาก Blognone)

เล่าสั้นๆก็คือ มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาแก้ไข DNS ใน Router เรา ส่งผลให้เมื่อเราเข้าบางเว็บไซต์ (เช่น Google.com / Youtube.com)  Router ตัวนี้จะส่งเราไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อดาวโหลดซอฟท์แวร์ไวรัสอีกที โดยหลอกเราว่า Adobe Flash บนเครื่องเก่าเกินไปให้ลงตัวใหม่ (ซึ่งเป็นไวรัส) หรืออีกกรณีที่เจอคือเมื่อเข้าเว็บแล้วจะถูกส่งไปหน้าเว็บอื่นก่อนเพื่อให้คลิกโฆษณาก่อนที่ส่งไปเว็บจริงๆที่เราต้องการ หรือใครมีอาการที่เข้าเว็บที่บ้านแล้วแปลกๆในขณะที่ที่ทำงานไม่เป็น และที่บ้านยังใช้ Router จาก True/Tot/3bb อยู่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าโดนแล้ว

 

ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดได้จาก 2 กรณีใหญ่ๆคือ

1. ใช้รหัสผ่านของ Router เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน โดยส่วนใหญ่ Router ที่แถมมาตอนติดตั้งเน็ตจะเป็น Password เหมือนๆกัน tot เอย admin เอย router เอย … บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Router ต้องตั้งค่าความปลอดภัยอะไรบ้าง ข้อนี้สามารถแก้ได้ง่ายได้ ดังนี้

  • เข้าไปยังหน้าตั้งค่า Router ผ่านทางหน้าเว็บ โดยส่วนใหญ่จะเป็น  http://192.168.1.1 หรือไม่ก็ http://192.168.0.1 แล้วก็ใส่ User / Password ที่ตั้งค่ามาจากโรงงาน ตัวอย่างเช่น Router TPLink ที่แถมมากับ True Internet จะเป็น User admin / password admin
  • เมื่อเข้ามาได้ก็เข้าไปที่หน้า Administration เปลี่ยนรหัสซะ เป็นอันจบ …
  • เรื่องวิธีเปลี่ยนรหัส น่าจะหาอ่านได้ทั่วๆไป search ด้วย Keyword “วิธีเปลี่ยนรหัส+router”  อันนี้เป็นวิธีเปลี่ยนรหัส Router ของ True http://support2.truecorp.co.th/detail.aspx?document_id=377
Default Password ของ Router มีอยู่ในหน้า Support ของ True

 

2. Router ที่ใช้อยู่มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Router ที่แถมมาจากตอนติดอินเตอร์เน็ตอีกเช่นกัน ข้อนี้แหล่ะที่อยากจะเขียนถึงในวันนี้ ช่วงโหว่อันนี้ค่อนข้างร้ายแรง ชนิดที่ว่าต่อให้เปลี่ยนรหัสเป็นรหัสยากขนาดไหน ก็ไม่มีผล เพราะรหัสสามารถถอดกลับมากได้อยู่ดี ช่องโหว่นี้ถูกเรียกกันว่า Rom-0

มาม่า

วันนี้แวะกินข้าว Foodland แล้วเจอมีขนมนมเนยจากญี่ปุ่นมาจัดรายการ (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกหรอก) .. แต่เห็นมาม่าบะหมี่สำเร็จรูปสองอันนี้น่ารักดี เลยซื้อมาไว้ที่บ้านกันตาย รสชาติไม่รู้จะเป็นยังไง

สรุป .. ซื้อเพราะ Packaging ล้วนๆ ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน  !!

ปล. จริงๆจะเรียกว่ามาม่าก็ได้นะ ..  SAPPORO MARUYAMA ZOO …

Sapporo maruyama zoo

 

Bigmama Tapas

เที่ยงวันนี้ไปกิน Tapas ร้าน Bigmama มา .. จริงๆร้านนี้ดังด้านพิซซ่ากับสปาเกตตี้อยู่ก่อนแล้ว แต่เค้าขยายร้านออกมาเน้นแนวอหาหารสเปนพวก Tapas โดยเฉพาะ โดยร้านใหม่จะอยู่ตรงข้ามกับร้านเดิมใต้ตึกเสริมมิตร

ร้านนี้แนะนำว่าควรจะไปกัน 4 คน เพราะ Tapas ที่เสริฟส่วนใหญ่จะมา 4 ชิ้นพอดี 🙂

ไปกันสามสี่คน จัดอาหารไปคร่าวๆประมาณนี้

 

พร้อมกิน !!
อันนี้ขนมปังธรรมดา รองท้องกันก่อน
ขนมปัง Focaccia Stick

Android App : aCar

บล็อกที่แล้วเขียนเรื่องผลลัพธ์ทีได้ของโปรแกรมไปก่อนแล้ว .. คราวนี้ลองมาดูตัวแอพ aCar เองบ้าง ว่าทำอะไรได้บ้าง

แอพ aCar ตามชื่อเลย ก็ไว้เก็บข้อมูลของรถเรา รองรับรถหลายคัน (แต่ยังไม่รองรับหลายคนใช้รถคันเดียว)  แต่เวอร์ชันที่ใช้อยู่เป็นเวอร์ชัน Pro เลยจำไม่ได้ว่าตัวฟรีมันมีอันไหนที่ใช้ไม่ได้บ้าง หลักๆน่าจะเป็นแค่เรื่อง Backup ข้อมูลมั้ง

 

สิ่งที่แอพสามารถทำได้คร่าวๆ และเห็นว่ามีประโยชน์ คือ

– บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งค่าน้ำมัน ค่าซ่อม เข้าศูนย์ โดยเวลาเติมน้ำมันมีข้อมูลสำคัญที่ต้องกรอกคือ เลขไมล์ ราคาน้ำมัน แล้วก็ปริมาณน้ำมันที่เดิม กรอกไปซักพักจะเริ่มเห็นสถิติ

– แอพสามารถเดาว่าจะต้องเติมน้ำมันอีกทีเมื่อไหร่ได้ด้วยโดยดูจากข้อมูลเก่าๆ  แต่เอาเข้าจริงๆ ดูเกจ์น้ำมันในรถเองจะง่ายกว่านะ

aCar-005   aCar-006

– แอพสามารถคาดคะเนอายุการใช้งานของอะไหล่แต่ละชิ้นได้ สามารถเตือนให้เอารถเข้าศูนย์ได้  (เดือนได้ทั้งจากระยะเวลา / ระยะไมล์ที่วิ่ง)

– ฟีเจอร์ที่สำคัญคือบอกสถิติที่ผ่านมา ทั้งอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (ต่อวัน ต่อเดือน) ราคาน้ำมัน cost/day บอก Total running cost ด้วย เห็นแล้วตกใจว่าใช้รถนี่เปลืองเงินขนาดนี้เลยหรือนี่

– อีกอันนึงที่จดแล้วอุ่นใจคือ ตอนเต็มน้ำมันจะให้กรอกปั๊มที่เดิมด้วย (ใช้ GPS ดึงข้อมูลปั๊มจาก Foursquare) เวลาเติมปั๊มที่ไม่คุ้นก็จะได้อุ่นใจว่าล่าสุดเติมปั๊มไหน มีปัญหาขึ้นมาจะได้มีข้อมูล

สถิติจากรถ Suzuki Swift

หลังจากใช้เจ้า Suzuki Swift (รุ่น 1500 cc ปี 2011) มาได้สองปี กอรปกับใช้โปรแกรม aCar ที่ใช้จดข้อมูลการเติมน้ำมันควบคู่ไปด้วย .. และนี่เป็นผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลมาปีกว่าๆ .. จากเดือน พ.ย.  2012  ถึงปัจจุบัน (ก.พ. 2014)

จริงๆตัวแอพเองก็มีสถิติให้ดูระดับนึง แต่สถิติที่โพสต์นี้ทำโดย export ข้อมูลออกมาเป็น csv ไฟล์ แล้วเอาเข้า Excel พลอตการฟเองตังหาก .. เอาไว้ดูคร่าวๆ

กราฟแสดงอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลง .. อยู่ที่ประมาณ 11.5 กิโลเมตร / ลิตร
Scroll to top