Android App : Kies Air

คนใช้มือถือ Samsung เมื่อพูดถึง Kies หลายๆคนคงส่ายหน้า

 

อธิบายคร่าวๆคือ Kies เป็น Software ของ Samsung บนคอมพิวเตอร์ที่ไว้ใช้จัดการโทรศัพท์มือถือ เหมือน iTunes ของ Apple ยังไงยังงั้น แต่ไม่ว่าจะเป็น Kies หรือ iTunes ต่างมีปัญหาเดียวกัน คือ พยายามจะจัดการทุกอย่างบนโทรศัพท์ให้ได้ โปรแกรมเลยใหญ่โตมหึมา แถมยังมีการเริ่มโปรแกรมเมื่อเปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ เพื่อที่ว่าพอเสียบสายต่อกับมือถือจะทำงานได้ทันทีซึ่งก็ทำให้เครื่องคอมอืดขึ้นไปอีก หลายๆคนเลยขยาดกับ Kies เต็มที่ ..

แต่ๆๆ .. จริงๆแล้ว Samsung มีโปรแกรมอีกตัวนึงที่ชื่อว่า Kies Air ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆกัน แต่กลับฝั่งกัน คือ แทนที่จะลงบนคอม ก็ให้ลงบนโทรศัพท์มือถือแทน แล้วอยากจัดการอะไรก็เข้าผ่าน Web browser ในคอมเข้าไปจัดการ .. ซึ่งง่ายกว่าตั้งเยอะ ไม่ต้องลงโปรแกรมให้หนักคอมอีกตังหาก ไปใช้คอมเครื่องไหนๆก็ทำได้

ก่อนจะใช้ Kies Air ได้นั้น สิ่งที่ต้องเตรียมคือ ..

1. ดาวโปรแกรม Kies Air มาลงบนโทรศัพท์ ได้จากที่นี่ 

2. โทรศัพท์ และ คอมพืวเตอร์ที่จะใช้ ต้องอยู่ใน Network เดียวกัน (เอาง่ายๆคือ มือถือกับคอมต่อ WiFi เดียวกันอยู่, ยากๆก็คือคอมต้อง Access port 8080 บนมือถือได้)

ลองมาดู Step วิธีใช้กัน ..

ขอประณามระบบ Email Marketing ของ KTC

วันนี้เที่ยงๆ ได้อีเมลโฆษณาของบัตรเครดิต KTC ก็ไม่ได้เอะใจอะไร จนกระทั่ง …

เหลือไปเห็นช่อง To ของ Email ว่าทำไมมันมีตัวอักษรยาวๆ .. แล้วก็ต้องช็อก !!

 

ข้อมูลของลูกค้าที่ควรจะเป็นความลับ KTC ดันใส่ไว้ในช่อง To ซึ่งส่งผ่าน Server ไหนๆ เค้าก็อ่านได้

เมื่อเจอว่า มันคือ ข้อมูลส่วนตัวเราทั้งหมด ที่อยู่ในช่อง To

ข้อมูลที่ว่า ประกอบด้วย

1. ชื่อ นามสกุล

2. หมายเลขบัตรเครดิต

3. เบอรโทรศัพท์บ้าน

4. เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน

5. เบอร์โทรศัพท์มือถือ

6. วัน เดือน ปี เกิด

7. ประเภทบัตรเครดิตที่ใช้บริการอยู่

 

คำถามคือ

KTC รู้หรือไม่ว่า กว่าอีเมลจะมาถึงผู้รับ มันต้องผ่านตัวกลางกี่คนต่อกี่คน ?

ข้อมูลที่ KTC ใส่มามันเป็นข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยไม่ใช่หรือ ?

มันจำเป็นด้วยหรอที่ KTC จะต้องเอาเลขบัตรเครดิต มาใส่ในช่อง To ของอีเมล ?

 

และนี่ก็ไม่ได้เป็น อีเมลฉบับแรก ที่มีข้อมูลลูกค้าใส่มาแบบนี้

เข้าใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกดึงออกมาจากระบบและส่งออกมาอัตโนมัติ แต่ด้วยความที่เป็นสถาบันการเงิน การทำอะไรโดยไม่ไตรตรองแบบนี้สมควรได้รับการตำหนิ ถ้าข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้ารั่วออกไปทางอีเมลเหล่านี้ แล้วลูกค้าได้รับความเสียหาย KTC จะรับผิดชอบมั๊ย ???

 

ในเมื่อ KTC เองยังไม่ระวังเรื่องความปลอดภัยขนาดนี้ แล้วจะหวังให้คนใช้มาระวังให้ตลอดก็คงไม่ได้

 

หวังว่าจะแก้ในเร็ววันนะครับ …

 

Android App : SCB UP2ME

วันนี้จะลอup2me-logoงพาไปเล่นแอพใหม่คือ SCB UP2ME

UP2ME เป็นแอพที่ออกมาต่อยอดบริการ SCB Easy ที่ปกติ เวลาเราจะโอนเงินให้ใครซักคน สิ่งที่ต้องทำคือ

ล็อกอิน SCB Easy -> เข้าหน้าโอน -> เลือกแบงค์ -> กรอกเลขที่บัญชี 10 หลัก -> คอนเฟิร์ม -> รอ OTP -> คอนเฟิร์มอีกรอบ ..  กว่าจะเสร็จอย่างน้อยๆก็ 5 นาที ..

จะเห็นว่าเสต็ปมันก็ไม่ได้น้อยเลย ถ้าเราโอนเงินสามพันห้าพัน มันก็โอเคอยู่ แต่ถ้าจะโอนเงินสามร้อย ห้าร้อย บางที่มันก็ขี้เกียจทำให้วุ่นวาย จ่ายเงินสดเลยดีกว่า

ส่วนตัวมองว่าแอพ UP2ME เลยออกมาตอบโจทย์ตรงนี้ … สำหรับคนที่มี SCB Easy อยู่แล้ว ก็แค่เพียงเลือกบัญชีมาหนึ่งบัญชีเพื่อใช้กับ UP2ME คือเงินที่รับจ่ายผ่าน UP2ME จะเข้าออกจากบัญชีนี้เท่านั้น เวลารับ-จ่ายก็ง่ายมาก

SCB-UP2ME-006    SCB-UP2ME-004

UP2ME รับหรือจ่ายเงินได้จากสองทาง คือ

QR code

คนฝั่งรับจะสร้าง QR Code เพื่อให้อีกฝ่ายสแกน ซึ่ง QR Code ที่ว่า จริงๆก็เปรียบเสมือนเลขที่บัญชีของเรานั่นแหล่ะ คนจ่าย Scan เสร็จก็จะรู้ว่าจะจ่ายให้ใคร แล้วก็ใส่จำนวนเงิน กับรหัส (PIN) ของตัวเอง ก็เป็นอันเสร็จสิ้น ง่ายโครต

SCB-UP2ME-002
เรียกเก็บเงินจาก Contact

Contact List

UP2ME จะแสกน Contact ใครเครื่องเรา โดยดูจากเบอร์โทร ว่าใครมีบัญชี UP2ME บ้าง ก็จะขึ้นมาให้เราสามารถส่งไปเรียกเก็บเงิน หรือส่งเงินไปให้ได้เลย ไม่ต้องอยู่ใกล้ๆกันด้วยซ้ำไป

 

จากที่ลองใช้เวลาไปกินข้าวมื้อนึง แทนที่ตะต้องเก็บเงินสดมากองไว้ ก็จ่ายกับ UP2ME ง่ายดี ไม่ถึงห้านาทีก็เรียบร้อย เวลาฝากเพื่อนซื้อของก็จ่ายง่ายกว่า

จ่ายเงินที่เพื่อนเรียกเก็บมา

อีกอย่างนึงที่เค้าโฆษณาคือ เอาไว้ทวงตังเพื่อน ส่งไปทวงได้ว่ายอดเท่าไหร่ ค่าอะไร มันก็จะเด้งที่เครื่องเพื่อนเลย ..

ที่สำคัญคือ .. เนื่องจากเป็นการโอนเงินระหว่าง SCB ด้วยกัน .. เท่าที่ลองยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

สรุปว่านานๆทีตะเห็นโบรดักส์ใหม่ๆของทางแบงค์ออกมาอำนวยความสะดวก น่าจะแข่งกันเยอะๆเราจะได้มีอะไรเจ๋งๆใช้กันต่อไป

ปล. เขียนได้ห้วนมาก ..

 

 

Summary Info

Name : SCB UP2ME

Developer : Siam Commercial Bank PCL.

Link https://play.google.com/store/apps/details?id=com.scbup2me

Requires Android : 2.2 and up

Price : Free

 

Windows: Screen Recording Tool

เขียนแต่ Android ติดกันมานาน วันนี้เลยกลับมาที่ Windows ซะหน่อย พอดีว่าเพิ่งส่งเมลแนะนำเครื่องจับภาพหน้าจอเป็นวิดีโอตัวนี้ให้ทีมที่ทำงานไป ไหนๆเขียนแล้วก็เลยขอเอามาลงบล็อกด้วยเลยละกัน

 

พอทำงานไป หลายๆครั้งจะพบว่าแค่จับภาพนิ่งบนหน้าจอมันไม่พอ ส่วนถ้าเป็นวิดีโอตัวดีๆหน่อยก็แพง (เช่น Camtasia) จนมาเจอตัวนี้นี่แหล่ะ Microsoft Expression Encoder 4 ซึ่งตัวฟรีสามารถบันทึกหน้าจอได้สูงสุดที่ 10 นาที (ซึ่งก็เกินพอแล้ว) ..

 

ลองมาดูวิธีการคร่าวๆกันซักหน่อย พอบางหน้าจอมันดูซับซ้อนอยู่พอสมควร

อันดับแรกก็โหลดโปรแกรมมาติดตัวกันก่อน โดยโหลดได้ที่นี่ http://www.microsoft.com/en-us/download/confirmation.aspx?id=27870 ซึ่งจะรวม SP2 เข้าไปด้วย

พอลงโปรแกรมเสร็จก็ทำตามนี้

– เริ่มจากเปิดโปรแกรม Microsoft Expression Encoder 4 Screen Capture ขึ้นมา

– เลือกฟังก์ชันเสริมได้ เช่น อันเสียงไปด้วย หรือว่าเพิ่มภาพจากเว็บแคม ..

– เริ่มอัดโดยกดปุ่มอัด (จุดแดงๆ) โดยหลังบางครั้งถ้าเรา Capture ทั้งหน้าจอ ตัว Toolbar จะหายไป อาจจะต้องใช้ Shortcut ช่วยแทน คือ กด Ctrl + Shift + F11 เพื่อหยุดชั่วคราว และ กด Ctrl + Shift + F12 เพื่อเสร็จสิ้นการจับภาพหน้าจอ

– เมื่อจับวิดีโอหน้าจอจนหนำแก่ใจแล้ว จะได้ไฟล์นามสกุล .xesc มาหนึ่งไฟล์ .. ซึ่งยังใช้งานไม่ได้

– สิ่งที่ต้องทำคือ เลือกไฟล์ที่เพิ่งได้มา แล้วกดปุ่ม Send to Encoder

– โปรแกรม Microsoft Expression Encoder จะเปิดขึ้นมา .. หน้าตาซับซ้อนพอสมควร แต่ไม่ต้องสนใจอะไรมาก

– กดปุ่ม encode ด้านล่าง แล้วมันจะเริ่มทำการ Encode เป็นวิดีโอ

– โดยเมือเสร็จแล้ว จะได้ไฟล์วิดีโอมาอยู่ที่ C:\Users\{User name}\Documents\Expression\Expression Encoder\Output

 

อย่างที่บอกว่า เวอร์ชันฟรี จับหน้าจอได้สูงสุด 10 นาที รวมทั้งไฟล์ที่ได้ยังเป็นแบบ wma เท่านั้น ถ้าต้องการ Video format อื่นๆอาจจะต้องจ่ายเงินซื้อ

 

จริงๆตัว Expression Encoder มันทำอะไรได้หลายอย่างเลยนะ เหมือนจะทำ Live Broadcast ได้ด้วย ใครลองเล่นแล้วมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะ

 

Android: Emergency Call

เคยคิดจะเขียนเรื่องนี้มานานล่ะ แต่ว่าคนใช้ Android (โดยเฉพาะ Samsung) ยังไม่เยอะพอ ..

มาวันนี้คนใช้ SS เยอะขึ้นมาก เลยจะมาลองเล่าเล่นๆถึงระบบ Emergency Call ของ Android ไม่แน่ใจว่าเป็นเฉพาะของซัมซุงรึเปล่า

 

ปกติเวลามือถือที่มีการตั้ง Lock หน้าจอไว้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม .. มือถือจะยังคงมีปุ่มให้กดโทร Emergency Call ได้อยู่

ทางเข้าหน้า Emergency Call จาก Lock screen

ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ .. ในบ้านเราก็น่าจะเป็น 191

แต่บางครั้ง เราก็ไม่ได้ต้องการจะโทรหา 191 นี่นา .. (โทรไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร)

หน้านี้ กด 191 ได้ .. เข้าหน้า ICE ได้จากมุมล่างซ้าย

Android เลยมีกลุ่มของ Contacts แยกออกมาอีกอัน ชื่อว่า ICE – emergency contacts  (ICE: In case of emergency)

ซึ่งรายชื่อของคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะสามารถเข้าถึงได้จากโทรศัพท์แม้กระทั่งล็อกหน้าจออยู่

เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้ดีควรจะเอารายชื่อคนใกล้ชิดซักสองสามคนใส่ไว้ในรายชื่อนี้ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะได้ให้ใครก็ตามโทรหาได้

คล้ายๆกับเขียนชื่อ เบอร์โทรแม่ใส่กระเป๋าเสื้อไว้ตอนเด็กๆเลย (ถ้าคนที่เจอใช้เป็นนะ)

หน้านี้ก็โทรหาใครก็ได้ใน List

ส่วนถ้าเราไปเจอโทรศัพท์ใครเข้า .. ก็ลองดูว่าโทรหาใครใน Emergency Contact ได้รึเปล่า .. จะได้คืนได้

 

 

 

Scroll to top