Serenade Club

เมื่อวานพอจะได้มีเวลาไป AIS เพื่อยกเลิก Internet Fibre ที่คอนโดฯ เลยได้เปิดประสบการณ์ใหม่หลายอย่างเลย

  • ศูนย์ AIS หลายที่ ถูกเปลี่ยนเป็น Serenade Club ให้บริการเฉพาะลูกค้า Serenade เท่านั้น ไม่รู้ว่าเปลี่ยนนานรึยัง แต่ก็สะดวกดี (ถ้าเราได้ใช้) รอคิวไม่นาน ข้างในหรูหราอลังการ .. ที่เจอคือที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • ยกเลิก Fibre ใช้เวลาไม่นาน ต้องเอาอุปกรณ์มาคืน และต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริงด้วย …
  • Fibre ที่คอนโดเป็นแบบจ่ายก่อน ใช้ทีหลัง (ทำไม่เป็นแบบนั้นนะ !) และถึงแม้ว่าจะยกเลิก แต่ถ้าเลยกำหนดจ่ายมาแล้วก็ต้องจ่ายอยู่ดี (คือจ่ายเดือนสุดท้ายฟรีๆทิ้งไว้เดือนนึง ถ้าไม่ได้มายกเลิกวันสุดท้ายของรอบบิล)
  • ถ้ายกเลิก AIS Point ที่มีอยู่จะหายไป Burn point ได้สองทางคือ เอาเป็นส่วนลด accessories ในร้าน ที่ก็ไม่ได้มีให้เลือกเยอะมาก กับเอาไปกดซื้อกาแฟ Starbucks เป็นเครื่องอัตโนมัติในศูนย์บริการนั่นแหล่ะ แก้วละ 60 คะแนน ที่เหลือก็ปล่อยทิ้งไป 😂
  • ถัดมา ถ้ารวมรอบบิล (Fibre และ โทรศัพท์มือถือ) แต้มที่มีอยู่ก็จะหายไปเช่นกัน 😂
  • (อันนี้นานแล้ว) คือ ถ้าแพคเกจอินเตอร์เน็ตของมือถือเรามี multi-sim จะทำให้ใช้กับ promotion ที่เป็นพวก ใช้ data เต็มสปีดเต็มแล้วลดความเร็วเหลือต่ำ ๆ ไม่ได้ จะใช้ได้แบบเต็มสปีดหมดแล้วหยุดเลยเท่านั้น รอบนี้ก็เลยยกเลิก multi-sim ทิ้งไป
  • เซ็นทรัลลาดพร้าว จอดรถฟรี ชม.เดียว ประทับตราจอดรถขั้นต่ำ ยอดสองพันบาท แพงขนาดนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะ

ปล. ช่วงนี้พอจะว่างขึ้น เลยมาลองนั่งปั่นบล็อกเรื่องง่ายๆหน่อย

Japan 2025

เพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่น รอบนี้ต่างจากรอบก่อนๆคือพาลูกไปด้วย (จริงๆควรเขียนเรื่อง New Zealand ด้วย ที่เป็นทริปต่างประเทศอันแรก แต่ขอดองไว้ก่อน)

รอบไปนี้ไป Osaka (โอซากา) แค่เมืองเดียวเลย พักที่เดียวยาวๆ จะได้ไม่ต้องลำบากย้ายที่ โดยเฉพาะการพาลูกไปด้วย สรุปสั้นๆเก็บไว้อ่านหน่อยนึง

เข้า/ออกสนามบิน

  • นั่งเครื่องบินไปลงโอซากา (KIX) แถวตม.คือยาวมาก (ชั่วโมงกว่าๆ เฉพาะต่อแถวตม.) ควรลงทะเบียนเว็บ Visit Japan ไปให้เรียบร้อย เพื่อผ่านตม.ง่ายหน่อย แบบไม่ต้องไปกรอกกระดาษหน้างาน
  • ขาออกจากสนามบินมีสองสามทางเลือก ถ้าเลือกรถไฟ ตอนซื้อตั๋วอาจจะต้องดูดีๆ เพราะขบวนด่วนพิเศษก็ต้องซื้อตั๋วด่วนพิเศษ (Rapid express) ซื้อผิดก็อาจจะได้รถหวานเย็น (Express ธรรมดา) ที่จอดเยอะกว่าหน่อย ช้ากว่าซัก 15-20 นาที จริงๆรถไฟก็มีสองอันอีกคือ JR หรือ Nankai
  • อีกทางเลือกคือ Airport Limousine Bus ที่สะดวกเหมือนกัน ไปถึงใกล้ที่พักเลยด้วย (แถว Namba) แต่น่าเสียดายว่ารถหมดแค่ 2 ทุ่มครึ่ง กว่าจะผ่านตม.ออกมาได้ก็ไม่ทันแล้ว
  • ถ้าถือบัตร IC (Suica / ICOCA) ไปก่อนได้ ชีวิตก็จะง่ายขึ้นหน่อยนึง เพราะซื้อตั๋วรถไฟที่ตู้ได้เลย
  • ขากลับมาขึ้นเครื่องบิน รอบนี้ใช้ Airport Limousine Bus ขึ้นที่ Osaka City Air Terminal (OCAT) ซื้อตั๋วก่อนขึ้นได้เลยที่ชั้น 2 ผู้ใหญ่ 1300 เยน เด็กจำไม่ได้ เพราะไม่ได้ซื้อ ตั๋วขายผ่านเครื่อง ที่รับแค่เหรียญกับแบงค์เท่านั้น ตอนขึ้นรถคนขับจะถาม Terminal แล้วติด Tag กระเป๋า (ระบุ Terminal) ให้ แล้วเก็บใต้ท้องรถ สบายกว่าไปต่อรถไฟเยอะเลย นอนๆมาเกือบชม.ก็ถึงเลย

ว่าด้วยเรื่อง Solar cell

ครบรอบหนึ่งปี กับการติด Solar cell เลยมาแชร์ผลการดำเนินงาน

รายละเอียดการติดตั้ง

  • ขนาด 4.64 kW บนไฟ 1 Phase ติดตั้งแบบ on-grid
  • ระบบ Micro Inverter ของ Enphase
  • แผงโซล่าเซลล์ JINKO 580 watts จำนวน 8 แผง
  • ติดตั้งบนหลังคาบ้านด้านเดียว หันหน้าไปทางทิศใต้
  • ไม่มีแบตเตอรี่เก็บไฟ
  • บริษัทที่ติดตั้งทำเรื่องขายไฟคืนการไฟฟ้าฯให้

Home Assistant กับ Tuya Integration

หลังจากใช้งาน Home Assistant (HA) กับ Tuya มาได้พักใหญ่ คิดว่าตกผลึกประมาณนึงละ เลยอยากเล่าหน่อย

Tuya เป็นบริษัทที่ขายอุปกรณ์ Iot + platform ของจีนเจ้าใหญ่ ที่มีบริษัทเอาไปผลิต device ออกมาเยอะมากที่ใช้งานบน platform ของ Tuya มีทั้งแบบที่เป็น Wi-Fi และ Zigbee

ก่อนจะไปต่อ ต้องบอกความคิดเบื้องหลังใช้งาน Tuya กับ Home Assistant ของตัวเอง ซึ่งก็คือ

  • แอพ Tuya ต้องยังใช้งานกับอุปกรณ์ได้ปกติ
  • ไม่อยากลง custom firmware – อยากให้สามารถใช้งานได้ปกติ ไม่อยากต้องตามข่าวของ library / breaking changes ต่างๆ ของแต่ละ component
  • สามารถใช้งานกับ Google Assistant ได้ (เพื่อทำ voice commands)
  • ถ้าสามารถไม่ต้องพึ่งพา internet ได้ก็จะดี (optional)

ในการ Integrate Tuya เข้ากับ Home Assistant นั้นมีด้วยการ 2 ท่า คือ

  1. Official Tuya Integration – https://www.home-assistant.io/integrations/tuya/
    อันนี้ก็ตามตัว อันหลักของ Tuya built-in มาในระบบของ HA เอง มีข้อควรทราบคือ
    • ต้องการ Tuya Iot platform account คือเราต้องไปสมัคร developer platform เพื่อให้ได้ client detail มากรอกใน Home Assistant
    • ในการใช้งาน developer platform จะมีสิ่งที่เรียกว่า subscription อยู่ ซึ่งที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ยังฟรีอยู่ (โดยเรียกว่า trial) ซึ่งเมื่อหมดอายุก็เข้ามากด ขอต่ออายุได้ … แต่แน่นอนว่าเราต้องขยันเข้ามากดขอต่ออายุนะ ไม่งั้นก็ใช้ไม่ได้
    • การต่อกับ official add-on นั้น มี mechanism ที่เป็น messaging queue (MQTT) เพื่อส่งข้อมูลของ sensor / สถานะสวิตช์ และค่าต่างๆจาก server Tuya กลับมาให้เรา ซึ่ง add-on ปัจจุบันทำสิ่งนี้ได้แย่มาก กล่าวคือ ทุกๆ 2 ชม. ตัว messaging queue credential จะหมดอายุ และ add-on เองไม่สามารถขอ token ใหม่ได้ เลยต้องมีวิธี workaround (ทีเดี๋ยวจะเขียนไว้ด้านล่าง) เพื่อให้มันใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
    • จากการอ่านค่าต่างๆจากตัว messaging queue ที่ว่า ทำให้ add-on ต้องพึ่งพา internet (ในการรับค่าสถานะ) ตลอดเวลา ส่วนการสั่งงานนั้น น่าจะสามารถสั่งตรงไปยัง Gateway/Hub ได้เลยโดยไม่ต้องออกอินเตอร์เน็ต

ว่าด้วยเรื่อง Cloudflare tunnel และ configuration ของมัน

ตอนนี้ที่บ้านมีใช้ Cloudflare tunnel สำหรับทำให้ Home Assistant เข้าถึงได้จากนอกบ้าน (ถ้าเป็นสมัยก่อนเราจะใช้การทำ dynamic dns + forward port จาก router) แต่ท่า Cloudflare tunnel นี้ทำอะไรได้มากกว่า แถมไม่ต้องไปพึ่งพาทั้ง dynamic dns และ configuration ของ router ที่ดีบ้างไม่ดีบ้างด้วย

ที่ผ่านมามีการใช้งานตัว tunnel ผ่าน cloudflared (ของแท้ต้องมี -ed) ที่เป็น docker image ของทาง Cloudflare เอามาทำสองอย่างคือ ทำตัว DNS ร่วมกับ Pi-hole กับเอามาทำ Tunnel เนี่ยแหล่ะ

ภาพอธิบายการทำงานของ cloudflare tunnel

ที่จะเล่าวันนี้คือ อยู่ ๆ ตัว cloudflared container (ที่รันอยู่บน k3s) ที่ทำหน้าที่ tunnel พออัพเกรด version ก็ใช้งานไม่ได้ ฟ้องว่าไม่ได้มีการ set ingress ผืด( ingress คือตัวที่บอกว่า ต้นทาง host หนึ่งๆ จะให้ forward request ไปที่ local server ตัวไหน) พยายามทำเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ แก้ ingress ที่เป็น config.yaml ของมันยังไงก็ไม่เวิร์ค

Scroll to top